fbpx

ความอ้วน ส่งผลต่อคุณภาพอสุจิอย่างไร

ความอ้วน ส่งผลต่อคุณภาพอสุจิอย่างไร

องค์การอนามัยโลกนิยามน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนไว้ว่า เป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในส่วนต่าง ๆ เกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพ รวมถึงภาวะมีบุตรยากด้วย โดยตัวบ่งชี้ความอ้วนสำหรับผู้ใหญ่เอเชียสามารถประเมินได้ 2 วิธี ดังนี้

1. ดัชนีมวลกาย คำนวณจากน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง

2. เส้นรอบวงเอวต่อส่วนสูง คำนวณได้จากเส้นรอบวงเอว (หน่วยเป็นเซนติเมตร) หารด้วย ความสูง (หน่วยเป็นเซนติเมตร) ค่าอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ 0.5 ถ้ามากกว่า 0.5 แสดงว่าเริ่มมีภาวะอ้วนลงพุง

 

ปัจจุบันมีงานวิจัยจากหลากหลายสถาบันที่ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับคุณภาพของอสุจิ พบว่า ความอ้วนมีผลต่อคุณภาพอสุจิดังนี้

ความเข้มข้นของอสุจิ : ไขมันที่ถูกสะสมมากขึ้นบริเวณอัณฑะทำให้เกิดอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งไม่เหมาะต่อการผลิตอสุจิ อีกทั้งไขมันที่เพิ่มขึ้น ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรน ไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ทำให้การสร้าง อสุจิลดลง ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการมีบุตรเอง ตามธรรมชาติ และการฉีดน้ำเชื้อเข้าทางโพรงมดลูก (Intra-uterine insemination : IUI

การเคลื่อนที่ของอสุจิ : ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรนที่ลดลงส่งผลให้การสร้าง การเจริญ และการพัฒนาบริเวณหางของอสุจิเกิดได้ไม่เต็มที่ ทำให้เห็นการเคลื่อนที่ของอสุจิในลักษณะที่ ผิดแปลกไป เช่น ว่ายวนไปมา ว่ายถอยหลัง ซึ่งลดโอกาสในการผสมกับไข่ เนื่องจากอสุจิอาจจะตาย จากสภาวะความเป็นกรดในช่องคลอดก่อนได้

รูปร่างของอสุจิ : การสร้างอสุจิที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้พบความผิดปกติที่รูปร่างของอสุจิได้ โดยความผิดปกติที่พบได้บ่อยคือ ความผิดปกติในส่วนหัว ความผิดปกติที่ส่วนคอและหางก็สามารถพบได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติที่ส่วนใดของตัวอสุจิย่อมส่งผล ต่อการมีบุตรยาก เนื่องจากไข่จะไม่ยอมรับอสุจิที่มีรูปร่างผิดปกติ ทำให้ไม่เกิดการปฏิสนธิ การฝังตัว หรือตัวอ่อนคุณภาพไม่ดี

สารพันธุกรรมในอสุจิ : ในคนอ้วน มักพบภาวะ Oxidative stress จากสารอนุมูลอิสระมากกว่าคนปกติ ซึ่งเป็นอันตรายต่อยีนในดีเอ็นเอ ทำให้เกิดความเสียหายของสายโครมาติน ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะแท้ง ทารก พิการแต่กำเนิด ซึ่งความผิดปกติของ สารพันธุกรรมดังกล่าวสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้


บทความโดย
พญ.สิริสุข อุ่ยตระกูล
สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษามีบุตรยาก

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');