fbpx

ในสังคมปัจจุบันผู้หญิงเรามีความรู้ความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำงานในองค์กรต่างๆ และให้ความสำคัญกับงานมาเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆ ในชีวิต ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะแต่งงานใช้ชีวิตคู่และวางแผนการมีบุตรช้าลง แต่จากงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า หรือเท่ากับ 35 ปี จะมีโอกาสตั้งครรภ์ลดลง และประสบปัญหาภาวะมีบุตรยากมากขึ้น เพราะปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ คือ อายุของไข่ในเพศหญิง เนื่องจากเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น จะมีจำนวนไข่ในรังไข่น้อยลง (Ovarian reserve) รวมถึงคุณภาพของไข่ (Oocyte competence) ก็จะลดลงด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุผลนี้ การใช้เทคโนโลยีการแช่แข็งไข่ (Oocyte cryopreservation) หรือที่นิยมเรียกในปัจจุบันว่า “การฝากไข่” จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการเก็บรักษาจำนวนไข่และคุณภาพไข่เพื่อเก็บไว้ใช้ในอนาคต

การฝากไข่ เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตรในขณะนี้ด้วยเหตุผลทางการแพทย์ เช่น การรักษาโรคมะเร็ง หรือด้วยเหตุผลทางสังคม เช่น การทำงานหรือการศึกษา ล้วนแล้วแต่ทำให้ความพร้อมในการตั้งครรภ์ถูกเลื่อนระยะเวลาออกไป โดยการเก็บรักษาไข่นั้น ไข่จะถูกนำไปแช่แข็งและเก็บไว้จนกระทั่งพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์

ขั้นตอนการแช่แข็งไข่

การแช่แข็งไข่หรือการฝากไข่เป็นการรักษาคุณภาพของเซลล์ไข่ให้คงสภาพเช่นเดิม โดยการหยุดการทำงานของเซลล์ไว้ด้วยวิธีการลดอุณหภูมิของเซลล์ลงจนถึงอุณหภูมิที่เรียกว่า sub-zero temperature และใช้สารป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็งเพื่อป้องกันความเสียหายภายในเซลล์ไข่ ที่อาจเกิดขึ้นจากความเย็น และทำการเก็บรักษาไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ –196 °c ซึ่งการแช่แข็งที่นิยมใช้มี 2 วิธี คือ

1. Slow freezing เป็นการแช่แข็งไข่ที่ค่อยๆ ลดอุณหภูมิในเซลล์ไข่ ลงอย่างช้า ๆ 0.3 – 0.5°c/min. โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการแช่แข็ง

2. Vitrification เป็นวิธีที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่ เป็นการลดอุณหภูมิของเซลล์ไข่ลงอย่างรวดเร็ว 15,000 – 30,000°c/min. และใช้สารป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็งที่มีความเข้มข้นสูงกว่า เพื่อทำให้ของเหลวภายในเซลล์มีลักษณะเป็น glass- like stage และช่วยลดการเกิดผลึกน้ำแข็ง ซึ่งผลึกน้ำแข็งนี้เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เซลล์ไข่เกิดความเสียหาย

ที่เจตนิน เราใช้วิธี Vitrification ในการแช่แข็งไข่ เพราะเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสียหายภายในเซลล์ไข่ที่เกิดจากผลึกน้ำแข็งโดยมีอัตราการรอดชีวิตหลังการละลาย (Survival rate) มากกว่าวิธี Slow freezing และอัตราความสำเร็จ ไม่ต่างกับไข่ ในรอบเก็บสด (Fresh oocyte)

 

ใครบ้างที่ควรฝากไข่

  • ผู้หญิงที่ต้องได้รับการรักษาโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น การรักษาด้วยการฉายรังสี หรือการให้เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งที่อาจส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของรังไข่ เช่น เนื้องอก ซีสต์ หรือ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวหมดประจำเดือนเร็ว เคยมีประวัติผ่าตัดบริเวณรังไข่มาก่อน
  • ผู้มีปัญหาด้านพันธุกรรม ชนิดที่ทำให้รังไข่เสื่อมการทำงานเร็ว เช่น Turner syndrome, Fragile X syndrome หรือ ผู้มีประวัติเสี่ยงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็ว
  • ในกรณีที่ทำการรักษาภาวะมีบุตรยาก แต่ผู้ชายไม่สามารถหลั่งอสุจิหรือไม่มีตัวอสุจิในวันที่ทำการเจาะเก็บไข่ ก็สามารถแช่แข็งไข่ไว้ก่อนได้
  • ผู้ที่ยังไม่พร้อมมีบุตรในขณะนี้ แต่วางแผนมีบุตรในอนาคต ที่เรียกกันว่า Social egg freezing ซึ่งได้รับความสนใจมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน เพราะผู้หญิงวางแผนแต่งงานช้าลงด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น การศึกษา หน้าที่การงาน ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการวางแผนการมีบุตรในอนาคต 

ความสำเร็จ

  • ขึ้นอยู่กับอายุ และคุณภาพของไข่

ที่เจตนิน

  • เราได้นำเสนอผลงานทางวิชาการที่แสดงให้เห็นว่าคู่สมรสสามารถให้กำเนิดบุตรที่มีสุขภาพแข็งแรงจากการใช้ไข่ที่แช่แข็งมานานถึง 10 ปีที่เจตนิน
  • ความพร้อมทั้งบุคลากร (Embryologist) และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาตร์ที่ดีและได้มาตรฐานที่ได้รับการรับรองในสากล
  • เรามีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย ครบถ้วน ได้มาตรฐานสากล ผู้เข้ารับบริการจึงสามารถเข้ารับกระบวนการรักษาจบครบในที่เดียว
  • มีประสบการณ์การรักษาภาวะมีบุตรยากยาวนานกว่า 25 ปี

 

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');