fbpx

สิ่งที่ควรรู้ก่อนการมาฝากแช่แข็งไข่

สิ่งที่ควรรู้ก่อนการมาฝากแช่แข็งไข่

สิ่งที่ควรรู้ก่อนการมาฝากแช่แข็งไข่

การฝากไข่เพื่อการวางแผนในการมีบุตรในอนาคต ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อีกต่อไป เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีถูกพัฒนาไปเป็นอย่างมาก จึงทำให้การกระตุ้นไข่นั้นปลอดภัยและไม่ได้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนน่ากลัว และการแช่แข็งไข่ก็ไม่ได้เหมาะแค่สำหรับเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นโรคที่มีโอกาสทำให้รังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร  แต่สามารถทำให้คนที่มีความเสี่ยงต่อการลดลงของรังไข่อย่างรวดเร็วสามารถเข้าถึงการบริการได้  เช่น กลุ่มคนที่เคยผ่าตัดซีสต์ที่รังไข่  กลุ่มคนที่มีประวัติครอบครัวประจำเดือนหมดไว หรือ กลุ่มคนที่คิดว่าอยากมีบุตรในอนาคตแต่ตอนนี้ยังไม่พร้อมหรือที่เราเรียกกันว่า Social egg freezing  ให้สามารถเข้ารับการบริการได้มากขึ้น

เหตุผลที่ในช่วง 5-10 ปี ที่ผ่านมาการฝากไข่นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สาเหตุนั้นเป็นเพราะว่าในทางด้านวิทยาศาสตร์ในการแช่แข็งไข่และตัวอ่อนนั้นดีขึ้นกว่าเมื่อ 10 ปีก่อนมาก อัตราในการละลายไข่หรือตัวอ่อนเพื่อนำมาใช้ในอนาคต มีอัตรารอดหลังการละลายอยู่ที่ 70-80% และ 90% ตามลำดับ รวมกับสังคมปัจจุบันการแต่งงานหรือการวางแผนมีบุตร พบว่าผู้หญิงต้องการมีบุตรที่ช้าลงกว่าแต่ก่อนเนื่องจากความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ นอกจากนั้นเราพบโรค เช่น ช็อคโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst ) ที่ทำให้มีผลต่อคุณภาพและปริมาณของฟองไข่หรือ พบภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควรมากขึ้น จึงทำให้จำนวนของฟองไข่ที่ควรจะมีในช่วงอายุนั้น ๆ มีจำนวนน้อยกว่าปกติ หรืออาจจะทำให้เป็นสาเหตุของการมีบุตรยากในอนาคต จึงทำให้ผู้หญิงหลายคนนั้นวางแผนฝากแช่แข็งไข่ไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นการประกันถึงคุณภาพของเซลล์ไข่เมื่อถึงวันที่พร้อมจะมีบุตรในอนาคต

ทำไมถึงต้องฝากไข่? เราต้องรู้ก่อนว่า เซลล์ไข่ เป็นเซลล์ที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายผู้หญิง โดยเริ่มต้นตั้งแต่ตอนแรกเกิดจะมีจำนวนไข่ถึง 2,000,000 ฟอง และจะลดลงเมื่อเราเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือในช่วงเริ่มมีประจำเดือนจะมีจำนวนไข่เหลือเพียง 400,000 ฟอง และจะลดลงเรื่อย ๆ ในทุกเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมด้วย และเมื่อเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน เซลล์ไข่นั้นอาจจะไม่เหลือเลย และในด้านคุณภาพของฟองไข่ และได้มีการศึกษาว่าอายุของผู้หญิงที่ดีที่สุดในการมีบุตรอยู่ในช่วง 26-34 ปี โดยพบว่าอายุในช่วงนี้มีโอกาสเกิดตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติน้อย (โอกาสได้ตัวอ่อนปกติ 60-70%) เพราะ โครโมโซมของเซลล์ไข่ปกติ (1)และเมื่ออายุผู้หญิงเกิน 35 ปี โอกาสเกิดโครโมโซมผิดปกติในตัวอ่อนสูงขึ้น โดยอายุ 40 ปีถ้าตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเราพบว่าโอกาสได้ตัวอ่อนปกติเพียงแค่ 20-30% ทำให้อายุที่เหมาะสมในการฝากไข่จึงควรเป็นอายุที่อยู่ในช่วงอายุน้อยกว่า 35 ปี แต่ถ้าหลังอายุ 35 ปี ก็สามารถฝากไข่ได้ แต่คุณภาพและจำนวนของฟองไข่ที่ฝากอาจจะลดลงเมื่อเทียบอายุน้อยกว่า 35 ปี

สิ่งที่ควรรู้สำหรับการฝากไข่
คือกระบวนการในการรับบริการรักษา ส่วนใหญ่การเริ่มการกระตุ้นไข่นั้นมักจะเริ่มฉีดยาเมื่อคุณผู้หญิงเป็นประจำเดือนวันที่ 2-3 ของรอบเดือน โดยกระบวนการกระตุ้นไข่รวมถึงการเก็บไข่ใช้ระยะเวลาประมาณ 11-13 วันหลังจะเริ่มกระบวนการ โดยจะมีการนัดเพื่อติดตามการโตของฟองไข่โดยการอัลตร้าซาวน์หรือ/และเจาะเลือดประมาณ 3-4 ครั้ง ภายในฟองไข่จะมีไข่แดงหรือทางการแพทย์เรียกว่า Oocyte ซึ่งเราไม่สามารถเห็นได้โดยการอัลตร้าซาวน์ แต่พอเราเก็บน้ำในฟองไข่นั้นมา นักวิทยศาสตร์จะดูผ่านกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูว่ามีไข่ที่ใช้ได้ หรือทางการแพทย์เรียก Mature oocyte ซึ่งเป็นไข่ที่พร้อมในการผสมกับอสุจิ โดยไข่ระยะนี้เป็นระยะที่เราจะทำการแช่แข็ง

เราควรแช่แข็งไข่ประมาณกี่ใบดี?
ได้มีการศึกษาในปี 2017 เรื่องการที่จะมีบุตร 1-3 คน โดยปัจจัยที่การศึกษานี้ได้นำมาใช้ คือเรื่องของอายุที่เริ่มแช่แข็งไข่, ปริมาณ , ไข่ที่แช่แข็งระยะ Mature oocyte และอัตราการรอดหลังจากการละลายไข่ โดยพบว่าถ้าฝากแช่แข็งไข่ตอนช่วงอายุ 34 ปี โดยมีจำนวนไข่ที่แช่แข็ง 20 ใบ จะสามารถมีโอกาสมีบุตร 1, 2 และ 3 คน ได้ 90%, 66% และ 38%  แต่ถ้าเราแช่แข็งไข่ในช่วงอายุที่มากกว่านั้น โอกาสในการมีบุตรจากไข่ที่แช่แข็งก็จะลดลงเช่นกัน

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');