fbpx

ฝากก่อนฝ่อ

ฝากก่อนฝ่อ

ฝากก่อนฝ่อ
อยากมีลูกแต่ยังไม่พร้อม ทำยังไงดี
?

อายุก็มากขึ้นไปทุกวันๆ ให้รอจนถึงวันที่พร้อมจะมีลูกแล้วอย่างจริงจัง เราไม่ต้องรอกันจนไข่ฝ่อเลยหรอ ?

ในสังคมยุคปัจจุบัน ผู้หญิงยุคใหม่แต่งงานกันช้าลง โดยจะแต่งงานที่อายุเฉลี่ย 35 ปีขึ้นไป เพราะโดยส่วนมากทุ่มเทกับการทำงาน รักในการใช้ชีวิตอย่างอิสระ หรือรอสร้างครอบครัวกับคนที่ใช่ (Melinda Mills et al., 2011) แต่ด้วยเวลาที่ผ่านไป ความเสื่อมของร่างกายก็มากขึ้น ยิ่งอายุมากขึ้น จำนวนไข่ยิ่งลดลง คุณภาพก็ลดลง (Danilo Cimadomo et al., 2018; Chia-Jung Li et al., 2021) ดังนั้น การฝากไข่ (Egg Freezing) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อเก็บรักษาไข่ในช่วงที่มีสุขภาพดีที่สุดไว้ใช้ในอนาคต

การฝากไข่ (Egg Freezing) คืออะไร ?

การฝากไข่ (Egg Freezing or Oocyte cryopreservation) เป็นกระบวนการที่ใช้ในเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology: ART) เพื่อรักษาคุณภาพเซลล์ไข่เพื่อใช้ในอนาคต โดยการหยุดการทำงานของเซลล์ ด้วยวิธีการลดอุณหภูมิของเซลล์ลงจนถึง sub-zero temperature และใช้สารป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็ง (Ice formation) ที่เรียกว่า Cryoprotective additives (CPAs) เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายภายในเซลล์ไข่ที่อาจเกิดจากความเย็น หลังจากนั้นจะเก็บรักษาไว้ในไนโตรเจนเหลว (Liquid nitrogen) ที่อุณหภูมิ -196°c ซึ่งปัจจุบัน นิยมใช้วิธีการแช่แข็งที่เรียกว่า Vitrification เพราะมีความสะดวกรวดเร็ว และมีอัตราการรอดชีวิตหลังการละลายมากกว่าวิธีอื่น นอกจากนี้ ยังมีอัตราความสำเร็จ (Clinical Pregnancy Rate: CPR) ไม่ต่างจากไข่ในรอบเก็บสด (Fresh oocyte) (Nadiye Köroğlu et al., 2023)

ทำไมถึงต้องฝากไข่ ?

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เซลล์ไข่ของผู้หญิงจะมีจำนวนและคุณภาพลดลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะมีลูกยากขึ้น ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะมีลูก ควรเข้ารับการฝากไข่ให้เร็วที่สุด โดยปกติจะแนะนำให้มาฝากไข่ในช่วงอายุ 25-35 ปี เพราะยิ่งฝากไข่เร็วเท่าไหร่ ไข่ก็จะยิ่งมีคุณภาพดี ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ต่อให้มีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ก็ยังสามารถใช้ใข่ในอายุที่น้อยกว่าได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงที่เด็กอาจเกิดมามีความผิดปกติของโครโมโซมอีกด้วย ดังนั้นผู้ที่วางแผนจะมีลูกจึงควรเข้ารับการฝากไข่ตั้งแต่เนิ่น ๆ (Pooja Rajesh, 2023)

การเตรียมตัวก่อนการเก็บไข่

เมื่อตัดสินใจฝากไข่ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ เข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและประเมินการทำงานของรังไข่ เช่น การตรวจ Anti-Mullerian Hormone (AMH) ซึ่งสามารถบอกจำนวนไข่และประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ได้   ถ้ารังไข่อยู่ในสภาพที่ดี ก็สามารถเริ่มกระบวนการได้ทันที แต่หากตรวจประเมินพบว่า สภาพการทำงานของรังไข่ไม่พร้อม สิ่งที่สามารถทำได้ คือ ออกกำลังกายเป็นประจำ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานวิตามิน อาหารเสริม ได้แก่ CO-Q10, Folic ก่อนกลับมาเริ่มกระบวนการฝากไข่ต่อไป

ขั้นตอนการฝากไข่

จะเริ่มจากการฉีดยากระตุ้นไข่เพื่อให้ได้ไข่จำนวนมาก หลังจากกระตุ้นจนได้ไข่ที่โตได้เต็มที่ มีขนาดประมาณ 17-20 มิลลิเมตร จึงจะฉีดฮอร์โมน HCG เพื่อทำให้ไข่สุก หลังจากฉีดแล้ว 36 ชั่วโมง จะทำการเจาะและดูดไข่ออกมาผ่านทางช่องคลอด จากนั้นนักวิทยาศาสตร์เลี้ยงตัวอ่อนจะทำการคัดเลือกเฉพาะไข่สุก (Mature oocyte: MII) ไปแช่แข็ง (Vitrification)

อัตราความสำเร็จของการฝากไข่

ยกตัวอย่างเคสของเจตนิน คนไข้อายุ 34 ปี มาแช่แข็งไข่ด้วยวิธี Vitrification ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 หลังจากแช่แข็งไว้นาน 6 ปี คนไข้กลับมาละลายไข่ในปี พ.ศ. 2565 (คนไข้อายุ 40 ปี) ละลายไข่ทั้งหมด 6 ใบ มีอัตราการรอดชีวิตหลังการละลาย 100% (100% Intact) และมีอัตราการปฏิสนธิ 67%  เมื่อเลี้ยงตัวอ่อนจนมาถึงวันที่ 5ได้ตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสท์ (Blastocyst) จำนวน 3 ตัวอ่อน คิดเป็น 75%ของตัวอ่อนที่เลี้ยงมา  และทำการตรวจโครโมโซมได้ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ 2 ตัวอ่อน ซึ่งถูกแช่แข็งไว้และรอการใส่กลับในอนาคต

ปัจจุบัน มีคำแนะนำว่า การที่เราจะมีลูก 1 คน ต้องมีไข่ที่มีคุณภาพดีแช่แข็งไว้อย่างน้อย 10-15 ใบ โดยความสำเร็จนี้ จะต้องขึ้นอยู่กับจำนวนและคุณภาพของไข่ ณ ช่วงอายุที่แช่แข็งไข่ ยิ่งอายุน้อย โอกาสสำเร็จก็ยิ่งสูงขึ้น (Maurizio Poli et al., 2021)

 

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');