fbpx

ก่อน-หลังย้ายตัวอ่อน อีกขั้นตอนสำคัญของการทำเด็กหลอดแก้ว

ก่อน-หลังย้ายตัวอ่อน อีกขั้นตอนสำคัญของการทำเด็กหลอดแก้ว

การย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกถือเป็น ขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว หากมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมที่ดี ก็จะช่วยเพิ่มความสำเร็จในการย้ายตัวอ่อนได้ ซึ่งการเตรียมความพร้อมสามารถทำได้ ดังนี้

 

ก่อนย้ายตัวอ่อน

1.ประเมินความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนการย้ายตัวอ่อน โดยการประเมินเยื่อบุโพรงมดลูกนั้น เบื้องต้นจะใช้วิธีการอัลตร้าซาวด์ โดยเยื่อบุโพรงมดลูกที่เหมาะแก่การฝังตัวของตัวอ่อนจะมีความหนามากกว่า 8 มิลลิเมตร และมีลักษณะเป็นสามชั้น หากแพทย์อัลตร้าซาวด์แล้วสงสัยว่าอาจมีภาวะความผิดปกติในโพรงมดลูก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการฝังตัวของตัวอ่อน เช่น มีติ่งเนื้อ เนื้องอก หรือมีผังผืดในโพรงมดลูก ก็ควรจะได้รักษาเพิ่มเติมก่อนย้ายตัวอ่อน

2.การเลือกตัวอ่อนระยะไหน? ที่จะใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก โดยทั่วไปตัวอ่อนก่อนที่จะฝังตัวในโพรงมดลูกจะมีการเจริญเติบโต โดยแบ่งเป็นระยะดังนี้

Day 1 : ระยะ 2PN

Day2-3 : ระยะ cleavage เป็นระยะที่ตัวอ่อนแบ่ง เป็นเซลล์ประมาณ 2-10 เซลล์

Day 4 : ระยะ morula ตัวอ่อนระยะนี้จะแบ่งเซลล์จำนวนมากขึ้น และรวมกันจนไม่สามารถแยกได้ว่ามีกี่เซลล์

Day 5 : ระยะบลาสโตซิสท์ (blastocyst) ซึ่งเป็น ระยะสุดท้ายก่อนที่ตัวอ่อนจะฝังตัว ระยะนี้ตัวอ่อนจะฟัก ออกจากเปลือกและพร้อมที่จะฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก ฉะนั้น การย้ายตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์ จึงมีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่าการเลือกใส่ตัวอ่อนในระยะอื่น ๆ

 

หลังย้ายตัวอ่อน

1.ผู้ป่วยต้องใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาฮอร์โมนเตรียมผนังโพรงมดลูก โดยปกติ การตั้งครรภ์ตามธรรมชาติจะจะมีฮอร์โมนจากรังไข่ ผลิตออกมาเพื่อใช้พยุงการตั้งครรภ์ แต่ในรายที่เตรียมโพรงมดลูกโดยการใช้ยาฮอร์โมนนั้น จะทำให้รังไข่ไม่มีการผลิตฮอร์โมนเหล่านี้ขึ้นมาเอง ฉะนั้นฮอร์โมนทั้งหมด ที่ใช้ในช่วงเตรียมตั้งครรภ์จะมาจากยาฮอร์โมนที่แพทย์สั่ง เพราะฉะนั้นการลืมใช้ยาจะทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่เพียงต่อการตั้งครรภ์และทำให้แท้งได้

2.ทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติเพราะจากงานวิจัย พบว่าการนอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลาไม่ได้เพิ่มโอกาส ตั้งครรภ์ หลังการย้ายตัวอ่อน คุณแม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติแต่ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

2.1 เคลื่อนไหวร่างกายอย่างเหมาะสม เช่น งดการขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ ไม่เดินตลอดเวลา และยืนนาน ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไม่ควรนอนติดเตียงตลอดเวลาหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายเลย

2.2 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คุณแม่สามารถทานอาหารตามปกติได้ แต่ควรเป็นอาหารที่มีเส้นใยและย่อยง่าย ไม่ควรทานอาหารดิบ หรือ กึ่งสุกกึ่งดิบ ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องท้องผูกหรือท้องเสีย

 

หากมีอาการเจ็บป่วยหรือมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที และหากคุณแม่เตรียมตัวได้ดี ปฏิบัติตัวได้ตามคำแนะนำของแพทย์ ก็จะช่วยให้การย้ายตัวอ่อนประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น


บทความโดย

พญ.โยโกะ ทาวาราซูมิดา

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');