fbpx

การตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน

Endometrial Receptivity Analysis (ERA)

การตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน

ผู้หญิงหลายคนต้องพบกับความผิดหวัง เมื่อพบว่าไม่ตั้งครรภ์แม้ว่าจะมีการใส่ตัวอ่อนคุณภาพดี การตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักสองอย่างด้วยกัน คือ ตัวอ่อนที่ดีมีโครโมโซมปกติ และการนำตัวอ่อนใส่กลับในขณะที่มดลูกมีความพร้อมรับการฝังตัว

การใส่ตัวอ่อนนั้นจะต้องทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งมีความสอดคล้องกับสภาพร่างกายและระยะรอบเดือน โดยทั่วไปผู้หญิงส่วนใหญ่มีช่วงเวลาการใส่ตัวอ่อนกลับใกล้เคียงกัน แต่มีผู้หญิงบางกลุ่มที่มีช่วงความพร้อมของมดลูกแตกต่างจากคนอื่น

ทำความรู้จักเยื่อบุโพรงมดลูก

Endometrium คือเนื้อเยื่อผนังของมดลูก ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงของรอบเดือน เพื่อให้มีความพร้อมในการฝังตัวของตัวอ่อน ตัวอ่อนทำการฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกและเจริญพัฒนาต่อไป ถึงแม้ว่าคุณภาพของตัวอ่อนจะดีเพียงใดก็ตาม หากมีการนำตัวอ่อนใส่กลับในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม ตัวอ่อนอาจจะฝังตัวไม่ได้

     ภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังมดลูกที่ช่วงต่างๆ ของรอบเดือน
WOI (window of implantation) คือช่วงระยะเวลาที่มดลูกมีความพร้อมที่สุดในการให้ตัวอ่อนฝังตัว
(Reference: fertility.coopersurgical.com/genomics/erpeak-endometrial-receptivity-test)

 

การตรวจ Endometrial Receptivity Analysis คืออะไร

การตรวจความพร้อมเยื่อบุผนังมดลูก คือการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดของผู้หญิงแต่ละคนในการใส่ตัวอ่อน จึงสามารถใส่ตัวอ่อนในช่วงระยะเวลาที่ดีที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

ภาพแสดงขั้นตอนการตรวจความพร้อมเยื่อบุผนังมดลูก

(Reference: fertility.coopersurgical.com/genomics/erpeak-endometrial-receptivity-test)

ทำไมจึงควรตรวจความพร้อมเยื่อบุผนังมดลูก

  • การใส่ตัวอ่อนในช่วงที่ดีที่สุดที่มดลูกมีความพร้อม (personalized embryo transfer) ส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น และลดการสูญเสียตัวอ่อนดีๆ จากการที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว
  • ช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวได้ดีของผู้หญิงแต่ละคนเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ โดยทั่วไปสำหรับการทำเด็กหลอดแก้วคือวันที่ 5 ของการให้ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน
  • เราพบว่าประมาณ 40% ของผู้หญิงมีช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวได้ดี ก่อนหรือหลังวันที่ 5 ของการให้ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน
  • ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วที่มีการตรวจเยื่อบุโพรงมดลูกมีอัตราการตั้งครรภ์สูงถึง 72.5%
  • ผลการตั้งครรภ์ของกลุ่มผู้หญิงที่ตรวจความพร้อมเยื่อบุผนังมดลูก หลังจากที่เคยใส่ตัวอ่อนแล้วไม่ท้องมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้ง สูงถึง 51.7-63.2%
  • เปอร์เซ็นต์ผลการตั้งครรภ์ของผู้หญิงกลุ่มที่มีการตรวจความพร้อมเยื่อบุผนังมดลูกสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ตรวจ

โดย ดร.ภรณ์วรัตม์ นิยมรัตนกิจ

ผู้จัดการห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์

 

Reference

  1. Katzorke N, et al. Geburtshilfe Frauenheilkd. 2016; 76: 699–703
  2. Ruiz-Alonso M, et al. Fertil Steril. 2013;100:818–824
  3. Tan J et al., J Assist Reprod Genet 2018
  4. Ohara Y et al., ESHRE 2020 P-351
  5. Simón et al. Reproductive BioMedicine Online. 2020; 41:402-415
  6. coopersurgical.com/genomics/erpeak-endometrial-receptivity-test
window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');