fbpx

การเลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะ

บลาสโตซิสท์

Blastocyst culture คือกระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย โดยเริ่มจากการปฏิสนธิไข่และอสุจิในห้องปฏิบัติการจนได้เป็นตัวอ่อน โดยจะเลี้ยงตัวอ่อนต่อไปอีก 5-6 วัน จนกระทั่งตัวอ่อนสามารถเจริญเติบโตจนได้เป็นตัวอ่อนในระยะ blastocyst ซึ่งตัวอ่อนระยะนี้จะมีการแบ่งชนิดของเซลล์ออกเป็น 2 ชนิดคือ เซลล์ที่จะเจริญไปเป็นทารก (inner cell mass) และเซลล์ที่จะเจริญไปเป็นรก (trophectoderm) ซึ่งเป็นระยะที่พร้อมจะฝังตัว

การเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะ blastocyst และใส่กลับตัวอ่อนในระยะนี้จะช่วยให้โอกาสในการตั้งครรภ์และการฝังตัวเพิ่มสูงขึ้น

ขั้นตอนในการทำ

กระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนเพื่อให้ได้ blastocyst นั้นจะต้องเพาะเลี้ยงภายในห้องปฏิบัติการที่ปลอดเชื้อโดยการควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง ความชื้นและแรงดัน ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงในน้ำยาพิเศษที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนไปจนถึงระยะ blastocyst ตัวอ่อนจะถูกนำไปเลี้ยงภายในตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่มีอุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง และก๊าซ ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งกระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนนี้จะเป็นกระบวนการเลียนแบบให้ใกล้เคียงกับสภาวะภายในร่างกายมากที่สุด

ข้อดี

การย้ายกลับตัวอ่อนระยะ blastocyst ทางโพรงมดลูกนั้นเหมาะสมที่จะฝังตัวมากที่สุดเพื่อที่จะได้มีอัตราการฝังตัวสูงที่สุด เนื่องจากในภาวะการตั้งครรภ์โดยธรรมชาตินั้น ตัวอ่อนจะเดินทางไปถึงโพรงมดลูกเพื่อที่จะฝังตัวในระยะ blastocyst เช่นกัน

ที่เจตนิน

  • เจตนินได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงตัวอ่อนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และคำนึงถึงความถูกต้องของตัวอ่อน โดยทุกขั้นตอนใช้ระบบการทำงานด้วยผู้ปฏิบัติงานร่วมกัน 2 คนในทุกขั้นตอน เพื่อป้องกันความผิดพลาดในแต่ละขั้นตอน