การตรวจคัดเลือกพันธุกรรมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน (PGT) เป็นตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนได้ก่อนที่จะใส่กลับเข้าโพรงมดลูก
วิธีการนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ความผิดปกติของสารพันธุกรรม เช่น ตรวจหาจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติได้โดยวิธีการที่เรียกว่า PGT-A ใช้ตรวจหาความผิดปกติในระดับยีนโดยวิธี PGT-M และตรวจหาการจัดเรียงตัวใหม่ของโครงสร้างโครโมโซมที่ผิดปกติโดยวิธี PGT-SR เทคโนโลยีการตรวจคัดเลือกพันธุกรรมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อนสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้บุตรที่ปกติสมบูรณ์และลดอัตราการแท้งอันเนื่องมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกได้
PGT-A
ก่อนนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมระยะก่อนฝังตัว (PGS) เป็นวิธีการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมที่เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝ่ายหญิงที่มีอายุมากซึ่งพบว่าตัวอ่อนมากกว่า 50% จะมีจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติและมักจะพบเซลล์ไข่ที่มีจำนวนโครโมโซมขาดหรือเกินไปกว่าปกติ เรียกว่าแอนยูพลอยดี้ (Aneuploidy) เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการดาวน์ (Down’s Syndrome) ในทารกได้ การตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนจึงสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์ให้สำเร็จเป็นอย่างดี
PGT-M
ก่อนนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า การตรวจวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยวในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGD) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีนเดี่ยว (monogenic mutation) ไปสู่ลูกได้ การวิเคราะห์และตรวจหาความผิดปกติของยีนเดี่ยวที่เกิดการกลายพันธุ์โดยวิธี PGT-M เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) จะช่วยลดความเสี่ยงในการให้กำเนิดบุตรที่มีความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมได้
PGT-SR (ตรวจการสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างโครโมโซม)
การสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างโครโมโซม (structural rearrangement) เป็นความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้นจากการสลับชิ้นส่วนของโครโมโซมโดยไม่มีการเพิ่มหรือลดสารพันธุกรรม ซึ่งเรียกว่ามีสถานะแบบสมดุล การที่บุคคลมีโครโมโซมสองโครโมโซมมีการสลับชิ้นส่วนกัน (reciprocal translocation) ส่งผลให้มีโอกาสสูงในการผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่มีสารพันธุกรรมไม่ครบ หรือมีบางส่วนเกินมา ส่งผลให้ตัวอ่อนมีชุดโครโมโซมไม่สมดุล PGT-SR ช่วยลดอัตราการแท้งจากการมีโครโมโซมที่ไม่สมดุลและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ของตัวอ่อน
ขั้นตอนในการทำ
PGT-A
ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วนั้น เมื่อตัวอ่อนถูกเลี้ยงไปจนถึงระยะที่เจริญเติบโตเต็มที่พร้อมที่จะฝังตัว หรือระยะ Blastocyst (วันที่ 5 ของการเลี้ยงตัวอ่อน) โดยเซลล์ของตัวอ่อนจะถูกสร้างขึ้นมากกว่า 100เซลล์ ประกอบไปด้วย เซลล์ชั้นใน (inner cell mass) ที่สร้างขึ้นจะเจริญไปเป็นทารก เซลล์รอบนอก (Trophectoderm) จะเจริญไปเป็นรก เซลล์ที่รกเพียงเล็กน้อยจะถูกนำมาตรวจชิ้นเนื้อเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์สารพันธุกรรม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของตัวอ่อนและไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นทารกแต่อย่างใด เซลล์ถูกเก็บตัวอย่างมานั้นจะถูกนำไปทำการสกัดและเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม (DNA) เพื่อนำไปวิเคราะห์ Next Generation Sequencing (NGS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในการหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมดในเซลล์ (Genome) กระบวนการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้สามารถใช้ตรวจโครโมโซมทั้ง 24 ชนิด ได้แก่ โครโมโซมที่ไม่ใช่ตัวกำหนดเพศ 22 ชนิด (autosome) และโครโมโซมเพศ 2 ชนิด (X และ Y) ที่ความแม่นยำสูง (99.9%) นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบ chromosome deletions/duplications (การมีชิ้นส่วนของแท่งโครโมโซมเกินมาหรือขาดหายไป) ด้วยความละเอียดสูงได้อย่างชัดเจน โดยตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติจะถูกตรวจคัดเลือกก่อนการฝังตัวของตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป
PGT-M
1.ตรวจเช็คประวัติ
ตรวจสอบบันทึกผลทดสอบทางพันธุกรรมของผู้เข้ารับการรักษา และอาจขอทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นข้อมูลเพื่้อประเมินว่าเราสามารถที่จะตรวจสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมดังกล่าวในตัวอ่อนได้หรือไม่
2. ร่วมปรึกษากับทีมงานของเราที่ปรึกษาด้านพันธุกรรมของเราจะให้คำแนะนำถึงประโยชน์พร้อมทั้งข้อจำกัดของการทดสอบและวิเคราะห์โดยวิธี PGT-M โดยขึ้นอยู่กับภาวะของผู้เข้ารับการรักษาแต่ละท่านซึ่งจะมีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้การทดสอบจำเป็นต้องใช้ตัวอย่างน้ำลายของพ่อแม่หรือบางกรณีอาจต้องใช้ของพี่น้องหรือญาติร่วมด้วย
3. การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเตรียมการแล้ว แพทย์ผู้ชำนาญการของเราจะแจ้งให้ผู้เข้ารับการรักษาทราบเพื่อเริ่มขบวนการักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วเพื่อสร้างตัวอ่อนที่มีคุณภาพ
4. เพาะเลี้ยงตัวอ่อนและการทำ Embryo biopsy เพื่อตรวจโรคทางพันธุกรรมตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงภายใต้สภาวะควบคุมจนกว่าจะถึงระยะบลาสโตซิสต์ในวันที่ 5 หรือวันที่ 6 ของเพาะเลี้ยง ซึ่งเซลล์จำนวนเพียงเล็กน้อยจาก Trophectoderm ที่จะเจริญไปเป็นรกจะถูกนำมาตรวจชิ้นเนื้อเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์สารพันธุกรรมต่อไป
5. การทดสอบทางพันธุกรรม สารพันธุกรรมของตัวอ่อนจะถูกวิเคราะห์เพื่อตรวจหาการกลายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจงโดยการวิเคราะห์หาความแตกต่างนี้เกิดจากการเปลี่ยนชนิดนิวคลีโอไทด์เพียงตำแหน่งเดียว (SNPs) สำหรับการวิเคราะห์จำนวนโครโมโซมของตัวอ่อนจะถูกตรวจสอบโดยเทคโนโลยี NGS
6. การย้ายตัวอ่อนตัวอ่อนที่มีผลการตรวจสอบทางพันธุกรรมที่ไม่เป็นโรค และมีโครโมโซมจำนวนปกติจะถูกตรวจคัดเลือกก่อนการฝังตัวของตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป
ข้อดีของ PGT-A
• ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์
• เนื่องจากการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมระยะก่อนฝังตัว (PGT-A) ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ จึงเป็นวิธีที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) โดยลดจำนวนรอบการรักษาจนการตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จได้
• เพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อน
• ลดความเสี่ยงจากการแท้งบุตร
เหมาะสำหรับ
PGT-A เหมาะสำหรับ
• ฝ่ายหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีอัตราความเสี่ยงของการให้กำเนิดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติสูง
• คู่สมรสที่รักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วมาก่อน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
• คู่สมรสที่มีประวัติการแท้งบุตรก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มากกว่า 2 ครั้ง
• คนไข้ฝ่ายชาย/ฝ่ายหญิง ที่มีประวัติความผิดปกติทางโครโมโซมในครอบครัว
PGT-M เหมาะสำหรับ
• คู่สมรสที่เป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรม หรือมีเคยมีบุตรที่เป็นโรคทางพันธุกรรม
• การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive ผู้ที่เป็นโรคจะต้องมียีนผิดปกติ 2 alleles ที่ได้รับมาจากทั้งบิดาและมารดา ตัวอย่างเช่นโรคธาลัสซีเมีย หากมียีนผิดปกติเพียง allele เดียว เรียกว่าเป็นพาหะของโรค จะมีสุขภาพแข็งแรงปกติ แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติให้บุตรในอนาคตได้
• การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant ผู้ที่เป็นโรคมีพ่อหรือแม่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นโรคด้วย ยกเว้นกรณีที่ผู้นั้นมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งพ่อแม่จะปกติทั้งคู่ ตัวอย่างเช่น โรคกระดูกอ่อนไม่เจริญเติบโต เป็นต้น
• การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked ตัวอย่างโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, โรคตาบอดสี เป็นต้น
ที่เจตนิน
- ห้องปฏิบัติการด้านต่างๆที่เจตนินได้รับมาตรฐาน ISO 15189 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 จนถึงปัจจุบัน
- กระบวนการทดสอบทุกขั้นตอนจะมีรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์หรือผู้ชำนาญการ 2 ท่าน เพื่อเป็นการตรวจทานผลการทดสอบ 2 ทางเสมอ โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้ผลการทดลองออกมามีความถูกต้องแม่นยำ
- ในส่วนของโปรแกรมการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ในทุกปีเจตนินได้เข้าร่วมการประเมิณคุณภาพจากสถาบัน Genomic quality assessment (GENQA) ของอังกฤษ และ จากสถาบัน European Molecular Quality Network (EMQN)