fbpx

PRP สำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก

PRP สำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก

Platelet Rich Plasma (PRP) คือ ส่วนพลาสมาของเลือดที่ประกอบไปด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น เกิดจากการนำเลือดเข้าสู่กระบวนการปั่นแยกส่วนประกอบอื่นที่ไม่ต้องการออกให้เหลือเกล็ดเลือดซึ่งมีความเข้มข้นกว่าเลือดปกติ 4-5 เท่า

ซึ่งใน PRP นี้ จะมีสาร Cytokines และ Growth factors หลายชนิด เช่น Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF), Transforming Growth Factor (TGF), Platelet-derived Growth Factor (PDGF) และ Epidermal Growth Factor (EGF) ฯลฯ สารต่าง ๆ เหล่านี้จะเข้าไปกระตุ้นการเคลื่อนที่การเจริญเติบโต และการแบ่งหน้าที่ของเซลล์ รวมทั้ง เริ่มมีการนำมาใช้ตั้งแต่ 1970 โดยทำการรักษาในเรื่องเกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพของเซลล์ ซึ่งทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นมีแต่การศึกษาเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในการใช้เฉพาะกลุ่มดังนี้

PRP กับเยื่อบุโพรงมดลูก

ในการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อทำการย้ายกลับตัวอ่อน พบว่ามีกลุ่มคนไข้ส่วนหนึ่งมีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกบางโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้ว่าจะได้รับยาฮอร์โมน Progynova ในระดับสูงแล้วก็ตาม ทำให้คนไข้ต้องถูกยกเลิกการย้ายกลับตัวอ่อน เกิดผลกระทบต่อคนไข้ทั้งทางด้านจิตใจและค่าใช้จ่าย ในปัจจุบันมีการศึกษาต่าง ๆ รายงานถึงความสำเร็จในการใช้ PRP ฉีดเข้าโพรงมดลูก โดยกลุ่มคนไข้ที่มีเยื่อบุบางโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังได้รับการฉีด PRP เข้าในโพรงมดลูกก่่อนการสอดยาโปรเจสเตอโรน พบว่าเยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และมีปริมาณเลือดมาเลี้ยงเยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มขึ้น จากการศึกษาต่าง ๆ ยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของอัตราการตตั้้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มคนไข้ที่ได้รับการย้้ายตัวอ่อนกลับหลายครั้งแล้วไม่เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น

PRP กับรังไข่

อายุที่มากขึ้นทำให้รังไข่นั้นมีปริมาณของฟองไข่และคุณภาพไข่ที่ลดลงการกระตุ้นไข่ในกลุ่มคนที่มีฟองไข่ปริมาณที่น้อยมีโอกาสที่ไม่ได้ไข่หรือไข่ที่ปริมาณน้อยทำให้ต้องทำการรักษาหลายรอบ การทำ PRP ที่รังไข่ จะทำเหมือนกับการเก็บไข่ คือ ใช้เข็มเก็บไข่ฉีด PRPประมาณ 2-4 มิลลิลิตรที่บริเวณเนื้อรังไข่ มีการศึกษาพบว่าสามารถทำให้ค่า FSH ลดลง AMH เพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเพิ่มปริมาณฟองไข่ได้ 0.5-1 ใบ และลดการยกเลิกการเก็บไข่เนื่องจากการกระตุ้นไข่ไม่ได้ โดยการศึกษามีผลลัพธ์การตั้งครรภ์ในกลุ่มที่คนไข้อายุน้อยแต่มีภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด (อายุ < 40 ปี) มากกว่าอายุมาก

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น

– เลือดออกในช่องท้องจากการเจจาะรังไข่หลายครั้งเพื่อฉีด PRP ซึ่งอาจจะนำไปสู่การผ่าตัดเพื่อหยุดเลือดถ้าออกปริมาณมาก
– การติดเชื้อในรังไข่ ทำให้รังไข่เป็นหนอง และทำให้ปริมาณรังไข่สูญเสียถาวร
– การแทงโดยอวัยวะข้างเคียง เนื่องจากคนไข้กลุ่มนี้มีภาวะรังไข่เหลือน้อยทำให้ขนาดรังไข่เล็ก จึงมีโอกาสโดนอวัยวะข้างเคียงได้ เช่น เส้นเลือดดำ/แดงใหญ่ ลำไส้
– ถ้าไม่ใช้เลือดของเราเองมีโอกาสในการติดเชื้อที่มาจากทางเลือดได้ เช่น โรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบบ B, C
– ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจทำ

การศึกษาเรื่อง PRP ในรังไข่ยังมีน้อย มีข้อจำกัดหลายอย่าง และผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ชัดเจนในเรื่องการเพิ่มจำนวนไข่และยังไม่ได้มีการศึกษาโอกาสการเกิดมะเร็งที่รังไข่จากการฉีด PRP ที่ทำให้การเจริญของเซลล์ผิดปกติ

 

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');