fbpx

PGT-A ช่วยเพิ่มความสำเร็จ ในการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?

PGT-A ช่วยเพิ่มความสำเร็จ ในการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?

PGT-A ช่วยเพิ่มความสำเร็จ ในการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?

ในแต่ละเซลล์ของตัวอ่อนประกอบด้วยโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ (46 แท่ง) การเพิ่มหรือขาดหายของโครโมโซมบางแท่งหรือ เพียงแค่บางส่วนนั้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน อาจส่งผลให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวที่ผนังมดลูก ฝังตัวแล้วแท้ง หรือคลอดมาเป็นเด็กที่มีความผิดปกติเช่น เด็กที่มีอาการดาวน์ หรือเป็นโรคดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) ซึ่งเป็นภาวะ โครโมโซมผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุด1 และมักพบในคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปโรคดาวน์ซินโดรมเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม แท่งที่ 21 ซึ่งมีจำนวนเกินมาจากปกติหนึ่งแท่ง (Trisomy 21) เด็กที่มีอาการดาวน์จะมีความบกพร่องทั้งทางด้านร่างกายและ สติปัญญา ดังนั้น การคัดเลือกเอาตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ ในการใส่กลับจึงเป็นการช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าว ให้คุณพ่อ คุณแม่มั่นใจได้ว่าจะได้บุตรที่ปกติมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง

การตรวจคัดกรองโครโมโซม ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จ ได้อย่างชัดเจนในกลุ่มคู่แต่งงานที่มีบุตรยากและกลุ่มที่มักประสบ ความล้มเหลวในการตั้งครรภ์เช่น กลุ่มคู่แต่งงานที่ฝ่ายหญิงมีอายุ 35 ปีขึ้นไปเนื่องจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมมักเกิดขึ้น ในไข่และจะมีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นเมื่อฝ่ายหญิงมีอายุมากขึ้น กลุ่มที่ เคยล้มเหลวจากการทำIVF กลุ่มที่เคยมีประวัติการแท้งมาแล้ว หลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ และกลุ่มที่เคยมีประวัติคลอดบุตร ที่มีโครโมโซมผิดปกติ

 

เทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจ PGT-A

เทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจ PGT-A ด้วยเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน แค่เซลล์จากตัวอ่อนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมได้ภายในเวลา อันรวดเร็ว Next Generation Sequencing technology หรือ NGS เป็นเทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้ในการตรวจพันธุกรรมของ ตัวอ่อนมากที่สุดในปัจจุบัน สามารถตรวจโครโมโซมทั้งหมดได้ ในคราวเดียว อีกทั้งยังให้ผลการวิเคราะห์ที่มีความละเอียด และแม่นยำสูง สามารถมองเห็นความผิดปกติของโครโมโซม ได้แม้จะเป็นเพียงชิ้นส่วนขนาดเล็ก และยังมั่นใจได้ว่าผลที่ได้ มีความถูกต้องสูงถึง 99.9% การตรวจคัดกรองโครโมโซมด้วยเทคโนโลยี NGS ยังสามารถ ลดความเสี่ยงจากการแท้งและความผิดปกติของทารกที่เกิดจาก ภาวะโมเซอิก หรือภาวะที่เซลล์ของตัวอ่อนมีจำนวน โครโมโซมแตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในระหว่าง การแบ่งเซลล์ ทำให้ตัวอ่อนมีทั้งเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมปกติ และผิดปกติอยู่ปนกัน มีรายงานว่า 1% ของเด็กที่เป็นโรคดาวน์ ซินโดรมเกิดจากภาวะโมเซอิก โดยที่อาการของโรคขึ้นอยู่กับ จำนวนหรือสัดส่วนของเซลล์ที่ผิดปกติ เทคโนโลยี NGS ที่เจตนินนำมาเปิดให้บริการตรวจคัดกรอง โครโมโซมตัวอ่อนเป็นระบบควบคุมอัตโนมัติที่ทันสมัยมีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้กันทั่วโลก ผู้ใช้บริการจึงมั่นใจได้ว่า จะได้รับการตรวจที่มีความถูกต้อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');