fbpx

AMH คืออะไร แล้วค่า AMH เท่าไหร่ถึงจะดี?

AMH คืออะไร แล้วค่า AMH เท่าไหร่ถึงจะดี?

ปัญหามีลูกยากในฝ่ายหญิงอาจะเกิดได้จากหลายสาหตุ ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคืออายุ เพราะยิ่งมีอายุมาก โอกาสในการตั้งครรภ์ยิ่งน้อยลง เพราะปริมาณไข่และคุณภาพของไข่ลดลง แต่บางคู่แต่งงานเมื่ออายุยังน้อย ก็ยังพบปัญหามีลูกยาก ซึ่งอาจจะเกิดจากคุณภาพของไข่ของฝ่ายหญิง ดังนั้นเมื่อคู่สมรสมาปรึกษาคุณหมอ คุณหมอมักจะแนะนำให้ฝ่ายหญิงตรวจ AMH หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าเป็นการตรวจอะไร วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ AMH กันค่ะ ว่า AMH คืออะไร แล้วมีความสำคัญอย่างไรกับกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยาก

 

AMH คืออะไร? เกี่ยวข้องอย่างไรกับการตั้งครรภ์

AMH หรือ Anti-Müllerian hormone คือ ฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากใข่ใบเล็กๆ ในรังไข่ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการทำงานของรังไข่หรือบอกจำนวนไข่ที่เหลืออยู่ของผู้หญิงในขณะนั้น

 

ทำไมต้องตรวจ AMH?

โดยปกติผู้หญิงเราเกิดมาพร้อมกับปริมาณไข่ที่จำกัด โดยมีประมาณ1-2 ล้านฟอง ซึ่งไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้อีก ต่างจากเซลล์สืบพันธุ์ของผู้ชายที่สามารถสร้างอสุจิขึ้นมาใหม่ได้ตลอด แม้ว่าจะดูเหมือนว่าผู้หญิงเราเกิดมาพร้อมกับปริมาณไข่จำนวนมาก แต่เซลล์ไข่เหล่านี้ก็จะถูกสลายไปอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุมากขึ้น โดยพบว่าเหลือเพียงประมาณ 400,000 ฟองเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือเมื่อเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก และจะมีการสลายไปเรื่อย ๆ ทุกเดือนจนเข้าสู่วัยทอง นอกจากอายุแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ เช่น พันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การสูบหรี่ ดื่มเหล้า หรือ โรคของรังไข่อย่างอื่น เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ ก็ล้วนส่งผลให้ไข่มีการสลายเร็วมากขึ้นกว่าปกติ และไม่เพียงส่งผลต่อปริมาณของไข่ที่เหลืออยู่ในรังไข่เท่านั้น ยังส่งผลต่อคุณภาพของเซลล์ไข่อีกด้วย การตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH ด้วยการเจาะเลือด เป็นการตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำ ทำให้รู้ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ได้

 

AMH ควรมีค่าเท่าไหร่

ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลที่บ่งบอกว่า ค่า AMH เท่าไหร่ ถึงจะบอกได้ว่าเป็นภาวะมีบุตรยาก โดยทั่วไปค่า AMH จะผันแปรตามอายุ โดยคนที่มีอายุน้อยมักจะมี AMH สูง และคนอายุมากมักจะมี AMH แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป บางรายแม้อายุน้อยก็อาจจะมี AMH ต่ำ เพราะมีปริมาณฟองไข่ในรังไข่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยได้ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมา ดังนั้นแพทย์จึงมักใช้ค่า AMH ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ และผลเลือดดูค่าฮอร์โมนต่าง ๆ เพื่อวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก ประเมินการรักษาที่เหมาะสม ความรีบร้อนในการรักษา และการวางแผนมีบุตรในอนาคต


บทความโดย

พญ.โยโกะ ทาวาราซูมิดา

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');