fbpx

ไข่นั้นสำคัญไฉน?

ไข่นั้นสำคัญไฉน?

หนึ่งในกุญแจสำคัญของการมีบุตรนั้นมีปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งมาจากไข่ แม้จะขึ้นชื่อว่าไข่เหมือนกันแต่รู้หรือไม่ว่าในความเหมือนที่หลายคนเข้าใจมีความแตกต่างกันอยู่มากมาย ตามธรรมชาติผู้หญิงจะมีการผลิตไข่ขึ้นมากที่สุดในช่วงที่เป็นทารก แต่ไข่เหล่านั้นจะยังไม่สามารถใช้งานได้จนกว่าจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยต่อมใต้สมองจะผลิตฮอร์โมนไปกระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศไปกระตุ้นให้เซลล์ไข่ทยอยกันโตในแต่ละรอบเดือน ถ้าเซลล์ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ ไข่จะฝ่อและถูกขับออกจากร่างกาย นี่คือสาเหตุที่ทำให้จำนวนไข่หายไปจากร่างกายผู้หญิง โดยจะไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้

ในผู้หญิงแต่ละคนจะมีลักษณะไข่แตกต่างกันออกไปตามปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ พันธุกรรม พฤติกรรมการดำรงชีวิต อาหารที่รับประทาน รวมถึงสารเคมีที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมวันนี้ จะขอกล่าวถึงลักษณะของไข่ที่สามารถพบได้ทั่วไป โดยเน้นการดูจากลักษณะทางกายภาพภายนอกเท่านั้น ลักษณะภายนอกของไข่ที่สามารถพบได้ทั่วไป มีดังนี้

 

Homogeneous cytoplasm

เป็นลักษณะของไข่ทั่วไปที่สามารถพบได้ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีสุขภาพแข็งแรง เป็นไข่ที่มีคุณภาพ เหมาะสำหรับปฏิสนธิกับอสุจิจนได้ตัวอ่อนที่พร้อมจะฝังตัวในผนังมดลูก

 

Centrally Located Granulation of the Cytoplasm (CLGC)

จะพบกลุ่ม Granule รวมตัวอย่างหนาแน่นอยู่ตรงกลางของ Cytoplasm จากหลายงานวิจัยพบว่าไข่ลักษณะนี้ ส่งผลให้ตัวอ่อนมีโอกาสเกิดความผิดปกติทางโครโมโซมแบบ Aneuploidy ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดโอกาสแท้งสูง

 

Cytoplasm with Smooth Endoplasmic Reticulum Cluster (SERC)

จะพบเป็นลักษณะคล้ายถุงน้ำบางๆ ใน Cytoplasm มีหลักฐานชัดเจนยืนยันว่า ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ประเภทนี้ จะได้ตัวอ่อนที่ผิดปกติ และให้ผลการตั้งครรภ์ที่ต่ำ อาจจะกล่าวได้ว่าไข่ที่พบ SERC เป็นกลุ่มที่ไม่เหมาะสมจะนำมาใช้ปฏิสนธิ

 

Cytoplasm with Vacuoles

เป็นลักษณะกลุ่มของเหลวเล็กๆ สามารถพบได้หลากหลายรูปแบบ ถ้า Vacuoles มีขนาด 5-10 μm พบว่าไม่ส่งผลต่อการปฏิสนธิอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้ามีขนาดใหญ่กว่า 14 μm จะมีผลสัมพันธ์กับการรบกวนการแบ่งตัวของตัวอ่อนในระยะ Cleavage และทำให้อัตราการเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะBlastocyst ของตัวอ่อนต่ำ

จากหลายงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าลักษณะภายนอกของไข่นั้น สามารถใช้ประเมินบอกแนวโน้มการปฏิสนธิ หรือการแบ่งตัวของตัวอ่อนได้บางส่วน แต่ไม่สามารถบ่งชี้ถึงความผิดปกติในระดับพันธุกรรมของไข่ได้ เทคโนโลยีการฝากแช่แข็งไข่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตรแต่ยังไม่พร้อมด้วยปัจจัยในหลายๆ ด้าน ในอนาคตถ้าหากคุณพร้อมที่จะวางแผนครอบครัวและมีบุตรคุณอาจจะได้ใช้ประโยชน์จากไข่ที่ฝากแช่แข็งเอาไว้ก็เป็นได้


บทความโดย
ทนพญ.รวิวรรณ เตียวพาณิชย์เจริญ
นักเทคนิคการแพทย์, ห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน โรงพยาบาลเจตนิน

วารสารวิชาการเจตนิน Vol.10 No.1

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');