fbpx

โควิด-19 กับการตั้งครรภ์

โควิด-19 กับการตั้งครรภ์

นาทีนี้คงไม่มีใคร ที่ไม่รู้จักโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ทุกท่านคงเห็นพ้องกันว่า โควิด-19 นัน สร้างผลกระทบต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตของเราในทุก ๆ ด้านจริง ๆ ไม่เว้นแม้แต่เรื่อง ของการตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน เราลองมาดูข้อมูลกันว่าโควิด-19 นั้นสร้างผลกระทบในเรื่องนี้อย่างไร

 

นับตั้งแต่การระบาดเริ่มขึ้น ก็เริ่มมีการเก็บรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ทั่วโลก และพบว่า ภาวะการตั้งครรภ์ นั้นไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายมีการติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป หากมีการติดเชื้อโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ไม่ต่ำกว่า 75%) ก็มักจะไม่มีอาการ และในบรรดาผู้ป่วยที่มีอาการนั้น ก็มักจะมีเพียง อาการที่ไม่รุนแรง เช่น มีอาการคล้ายไข้หวัด มีไข้ ไอ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงความเสี่ยงต่อการที่จะต้องถูกรับ เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและความเสี่ยงของการเกิดอาการในระดับที่รุนแรง ก็ยังพบว่าในกลุ่มผู้ติดเชื้อของสตรีที่ตั้งครรภ์ มีอัตราที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ในช่วงอายุเดียวกัน

 

ผลของโควิด-19 ต่อการตั้งครรภ์

สำหรับผลของโควิดต่อการตั้งครรภ์นั้นพบว่า ในสตรีที่ติดเชื้อนั้นมีอัตรา การคลอดก่อนกำหนดโดยรวมที่สูงขึ้น ทั้งนี้อาจเกิดจากแพทย์มีความจำเป็นต้องเร่งให้มีการคลอดก่อนหนด เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอาการของโควิด เพราะเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแยกกลุ่มระหว่างกลุ่มที่ไม่มีอาการแล้ว พบว่า ไม่ได้มีอัตราการคลอดก่อนกำหนดที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน แต่แน่นอนว่าเมื่อมีการคลอดก่อนกำหนดที่มากขึ้นก็จะพบความเสี่ยงของทารกที่เกิดจากการคลอดก่อนกำหนดที่สูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ก็พบว่ามีการผ่าตัดคลอดในอัตราที่สูงมากขึ้นด้วย ซึ่งเหตุผลของการผ่าตัดคลอด ส่วนหนึ่งตามปกติ แต่อีกสาเหตุหนึ่งก็เป็นเพราะภาวะสุขภาพของมารดาที่มีผลจากการติดเชื้อนั่นเอง

 

ปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีการตั้งครรภ์ พบว่ามีบางปัจจัยที่พบว่าสัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ได้แก่

1.  เชื้อชาติ เช่น ผิวดำ คนเอเชีย

2. น้ำหนักมาก BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 25

3. มีโรคประจำตัวอยู่ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

4. อายุ 35 ปี หรือมากกว่า

5. อาศัยหรือทำงานพื้นที่ที่เสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ

 

ผลของการติดเชื้อในสตรีตั้งครรภ์ต่อทารกในครรภ์

จากข้อมูลในปัจจุบันยังไม่พบว่าการติดเชื้อโควิด-19 ในขณะตั้งครรภ์จะทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อทารกทั้งในแง่ความพิการแต่กำเนิด การเจริญเติบโตในครรภ์ รวมทั้งไม่ได้เพิ่มอัตราการตายคลอดหรืออัตราการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดด้วย ผลกระทบหลัก ๆ ต่อทารกที่มีรายงานนั้น เป็นปัญหาที่เกิดจากการคลอดก่อนกำหนดมากกว่า ตามที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ในส่วนของการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกนั้น มีการติดตามทารกหลังคลอดในหลาย ๆ การศึกษายังไม่พบข้อมูลการติดเชื้อในลักษณะดังกล่าวที่ชัดเจน ทารกที่ได้รับการตรวจติดตามล้วนมีผลการตรวจเป็นลบ หลักฐานในปัจจุบันชี้ว่า หากจะมีการติดเชื้อในรูปแบบนี้ ก็ถือว่าเกิดได้น้อยมาก


บทความโดย
นพ.ปกป้อง ปานศรีแก้ว
สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษามีบุตรยาก
โรงพยาบาลเจตนิน

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');