fbpx

แช่แข็งไข่ อายุยิ่งน้อยยิ่งดี

แช่แข็งไข่ อายุยิ่งน้อยยิ่งดี

ในยุคปัจจุบัน “กำรแช่แข็งเก็บไข่” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้หญิงหลายคนให้ความสนใจสำหรับการเตรียมตัว
สร้างครอบครัวในอนาคต ในหัวข้อนี้จะมาอธิบายว่า “กำรแช่แข็งไข่” เมื่ออายุยังน้อยนั้นดีอย่างไรค่ะ

 

ไข่คุณภาพดีที่สุดที่ช่วงอายุเท่าไหร่ ?

จากงานวิจัยพบว่า ไข่ให้ผลสำเร็จในการปฏิสนธิได้ดีที่สุดที่อายุ 25 ปี แต่ยังเป็นช่วงที่หลายคนยังไม่คิดเรื่องแช่แข็งไข่เพื่อวางแผนในการมีลูก ส่วนใหญ่ของผู้หญิงที่มาแช่แข็งไข่จะมีอายุที่ 36-40 ปี ซึ่งผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป (Advanced Age) ไข่จะเริ่มเสื่อมคุณภาพลง ดังนันช่วงอายุเกิน 30 ปีที่เป็นช่วงอายุที่เหมาะสม (Ideal Age) ในการแช่แข็งไข่คือ อายุ 31-35 ปี

การทำงานไมโตคอนเดรียผิดปกติ

“ไมโตคอนเดรีย” พบได้ทั้งภายในเซลล์ไข่และบริเวณ Granulosa Cells (GC) มีหน้ำที่สร้างพลังงานให้กับไข่ เพื่อใช้ในการแบ่งโครโมโซมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตัวอ่อนในระยะแรก ๆ หลังปฏิสนธิ ไมโตคอนเดรียมีชุดพันธุกรรมของตนเอง ที่เรียกว่า mtDNA (Mitochondrial-DNA) จากงานวิจัยพบว่ำเมื่ออายุมากขึ้น ไข่จะมี mtDNA น้อยลง แสดงถึงจำนวนไมโตคอนเดรียที่ลดลง ซึ่งมีผลทำให้ตัวอ่อนมีการแบ่งโครโมโซมที่ผิดปกติมากขึ้น

ต้องเก็บไข่เท่าไหร่ถึงจะมีโอกาสมีลูกได้ ?

ในปัจจุบันยังระบุไม่ได้ว่าเท่าไหร่ถึงจะรับประกันว่าทำ IVF แล้วจะสำเร็จ เนื่องจากจำนวนไข่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งจากอายุ สุขภาพ และการวางแผนครอบครัวซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล จากงานวิจัยพบว่าจำนวนไข่จะยิ่งลดลงเมื่ออายุมากขึ้นในแต่ละช่วงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความสำเร็จในการปฏิสนธิของไข่จะลดลงตามอายุที่มากขึ้น เริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ช่วงอายุ 40-44 ปี และยิ่งต่ำลงมากเมื่ออายุมากกว่า 45 ปี การเก็บแช่แข็งไข่ ขณะที่อายุยังน้อย จะได้ไข่จำนวนมากกว่า มีโอกาสได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพดี และโครโมโซมปกติได้มากขึ้น เพิ่มโอกาสสำเร็จในการทำ IVF และเด็กที่เกิดมาจะมีความเสี่ยงต่ำในการที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรม

Cohesin Dysfunctions

โปรตีน Cohesin ทำหน้าที่จับระหว่างSister Chromatids ให้เข้าคู่กัน เมื่ออายุมากขึ้น การสร้างโปรตีนน้อยลงทำให้โครโมโซมไม่จับคู่ใหม่ตอนแบ่งตัว ความเครียดและสาร ROS (อนุมูลอิสระต่าง ๆ) ทำให้โปรตีนชนิดนี้ลดน้อยลงได้เช่นเดียวกันกับเทโลเมียร์

Spindle Instability

เส้นใย Spindle fiber เกิดจากใย Microtubule รวมตัวกัน ทำหน้าที่ดึงแท่งโครโมโซมออกจำกกันเวลาแบ่งตัว เมื่ออายุมากขึ้น เส้นใยจะเสื่อมลงทำให้แบ่งโครโมโซมได้ไม่ดีอาจทำให้ตัวอ่อนที่ได้มีจำนวนโครโมโซมน้อยหรือเกินกว่าปกติที่เรียกว่า Anueploidy

จากความเสื่อมถอยลงของไข่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครโมโซม จึงทำให้ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคทางพันธุกรรม 30% และเพิ่มขึ้นมากกว่า 90% เมื่อผู้หญิง มีอายุ 44 ปีขึ้นไป ตัวอย่างโรคที่พบได้บ่อย เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome), พาทัวซินโดรม (Patau’s Syndrome) และเอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward syndrome) ที่ทำให้เด็กเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ หัวใจพิการ และเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');