fbpx

เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ด้วยการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน

เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ด้วยการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน

การเตรียมพร้อมมีบุตรด้วยการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งเพื่อช่วยคัดกรองความสมบูรณ์ของลูกน้อยในท้องของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

 

การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนคืออะไร?

การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน (Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy) หรือเรียกว่า การตรวจ PGT- A นั้นเป็นการตรวจหาความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมตัวอ่อน เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุดก่อนการใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูก

 

PGT-A ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง

อย่างที่ทราบกันดีว่า ตัวอ่อนแต่ละเซลล์ประกอบด้วยโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ (46 แท่ง) ซึ่งถ้าหากมีโครโมโซมบางแท่งขาดหายหรือเพิ่มขึ้นเพียงแค่บางส่วน อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้ทั้งสิ้น ในปัจจุบัน ด้วยวิธีการตรวจได้มาตรฐานอย่างเทคโนโลยี NGS (Next Generation Sequencing) ซึ่งมีความทันสมัย แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น จะช่วยให้มีโอกาสตรวจหาจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติได้ เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนสำหรับการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

 

ทำไมต้องตรวจ PGT-A

โดยปกติ การตรวจคัดกรองโครโมโซมถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการทำ IVF เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่ที่มีบุตรยากให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้น การเข้ารับการตรวจโครโมโซมเพื่อคัดกรองโรคพันธุกรรมผิดปกติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีประวัติการแท้งโดยไม่ทราบสาเหตุหลายครั้ง หรือเคยมีประวัติคลอดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ โดยเฉพาะในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปนั้นจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องตรวจหาความผิดปกติของโรคพันธุกรรมอย่างเช่น โรคดาวน์ซินโดรม โรคที่ทำให้ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่เกิดมามีอาการบกพร่องทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา

 

ขั้นตอนการตรวจ PGT-A

ด้วยวิวัฒนาการที่ก้าวหน้า การตรวจคัดกรองโครโมโซมในปัจจุบันจึงไม่ยุ่งยาก โดยมีขั้นตอนหลักๆ ดังต่อไปนี้

– การดึงเซลล์จากตัวอ่อน (Embryo biopsy) เพื่อนำไปใช้ในการตรวจคัดกรองโครโมโซม

– การคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนด้วยเทคโนโลยี NGS (PGT-A with NGS technology)

– การเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุด (Embryo Selection) เพื่อใส่กลับไปยังโพรงมดลูก

– การย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก (Embryo transfer) หลังการตรวจคัดกรองโครโมโซม ตัวอ่อนที่ดีสุดจะถูกย้ายกลับไปในโพรงมดลูก ซึ่งคู่สมรสสามารถเลือกแช่แข็งตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมปกติไว้สำหรับการใส่กลับในอนาคตได้เช่นกัน

 

การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการตั้งครรภ์ เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณแม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์แล้วนั้น ยังช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นใจได้ว่า ลูกน้อยที่กำลังจะเกิดมามีร่างกายปกติและสุขภาพแข็งแรง


บทความโดย

พญ.โยโกะ ทาวาราซูมิดา

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');