fbpx

หลับสบายกับท่านอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

หลับสบายกับท่านอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

งานวิจัยที่ศึกษาผู้หญิงเกือบ 2,400 คน จำนวนร้อยละ 76 รายงานว่า มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีในช่วงตั้งครรภ์ มากกว่าช่วงเวลาอื่น ซึ่งท่านอนของผู้หญิงตั้งครรภ์ถือเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์นอนหลับสบาย และ นอนหลับอย่างมีคุณภาพมากขึ้น โดยไม่ว่าจะตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกหรือ ไตรมาสที่ 3 การนอนหลับด้วยท่านอนที่เหมาะสมจะส่งผลดีต่อร่างกาย ของคุณแม่และทารก นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงท่านอนบางท่าที่สามารถ ทำให้เกิดความเจ็บปวด และมีปัญหาสุขภาพตามมา

นอนตะแคงดีกว่า ท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์คือการ นอนตะแคง เนื่องจากการนอนตะแคงจะช่วยให้ หายใจได้ดีขึ้น และลดแรงกดดันบริเวณมดลูก นอกจากนี้ แม้ว่าในช่วงไตรมาสแรกคุณแม่ตั้งครรภ์ สามารถหลับในท่านอนหงายหรือนอนคว่ำได้ แต่คุณหมอแนะนำว่าควรเริ่มนอนตะแคงตั้งแต่ ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากจะช่วย ให้คุ้นเคยกับการนอนด้วยท่านอนตะแคง ก่อนที่ จะต้องเปลี่ยนไปนอนท่านี้เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น

ควรนอนตะแคงข้างไหนดี สมาคม American Pregnancy Association ยังแนะนำว่า การนอนตะแคงซ้ายถือว่าดีที่สุด เนื่องจากจะช่วยทำให้เลือดสูบฉีดได้ดีและนำ สารอาหารไปยังรกและลูกน้อยในครรภ์ การนอน ตะแคงซ้ายยังช่วยทำให้มดลูกอยู่ห่างจากตับ ที่จะอยู่ด้านขวาของร่างกาย และเมื่อนอนในท่า ตะแคงซ้ายควรงอขาเวลานอน เพื่อไม่ให้หัวใจ ทำงานหนักเกินไป

นอนหงายก็ได้แต่อาจไม่สบายตัว แม้ว่าตอนเข้านอนจะนอนด้วยท่านอนตะแคง แต่โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มว่า จะตื่นภายในไม่กี่นาทีหลังจากเปลี่ยนไปเป็นท่า นอนหงาย เนื่องจากเป็นท่านอนที่ไม่สะดวกสบาย เท่าไหร่ ในกรณีที่ตื่นขึ้นมาแล้วอยู่ในท่านอนหงาย ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะการนอนหงายไม่ได้ก่อให้ เกิดอันตรายร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ อย่างไร ก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการนอนในท่านอนหงาย หลังจากผ่านช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก เพื่อทำให้ คุณได้นอนหลับนานขึ้น รวมทั้งเพื่อความสะดวก สบายและสุขภาพที่ดี ส่วนสาเหตุที่ไม่แนะนำให้ นอนในท่านอนหงายนั้น เนื่องจากการนอนหงาย ในขณะตั้งครรภ์ทำให้ท้องไปอยู่ด้านบนลำไส้และ หลอดเลือดใหญ่ ซึ่งสามารถเพิ่มแรงกดดัน บริเวณช่องท้องจนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ปวดหลัง ปัญหาการหายใจ ปัญหาการย่อย อาหาร ความดันโลหิตต่ำ ริดสีดวงทวาร เป็นต้น

ต้องไม่นอนคว่ำ ท่านอนคว่ำเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เนื่องจากท้องจะ กดดันช่องคลอดที่ขยายใหญ่ขึ้นรวมถึงหน้าอก จนอาจทำให้เป็นอันตรายต่อแม่และลูกในครรภ์

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');