fbpx

ว่าที่คุณแม่อยากมีลูก แต่เป็น PCOS ต้องทำยังไง?

ว่าที่คุณแม่อยากมีลูก แต่เป็น PCOS ต้องทำยังไง?

PCOS เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ซึ่งพบได้มากในหญิงวัยเจริญพันธุ์ หรือ ประมาณ 1 ใน 10 ของผู้หญิง โดยมักจะตรวจพบถุงน้ำรังไข่หลายใบจนทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์น้อยลง

 

PCOS คืออะไร?

PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) คือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อหรือ ฮอร์โมนในร่างกายมีระดับเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินที่ไม่สมดุล จนเกิดเป็นซีสต์หรือถุงน้ำขนาดเล็กหลายใบอยู่ในรังไข่ ทำให้รังไข่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่มีขนาดฟองไข่เท่าๆกัน ไม่มีฟองไข่ที่สามารถเจริญเติบโตได้มากกว่าฟองอื่นๆทำให้ฮอร์โมนผิดปกติและประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือเกิดปัญหามีบุตรยากตามมา

 

เป็น PCOS ตั้งครรภ์ได้หรือไม่

PCOS เป็นกลุ่มโรคที่มีความหลากหลาย โดยพบได้ตั้งแต่มีภาวะประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ร่วมกับการอัลตราซาวด์แล้วเจอถุงน้ำ หรือ ฟองไข่ หลายใบ หรืออาจจะมีปัญหาภาวะการดื้ออินซูลิน ทำให้รูปร่างเปลี่ยนไป ไปจนถึงการมีภาวะฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้ผิวมัน เป็นสิว ขนดกขึ้น หรืออ้วนแบบลงพุง ซึ่งมีถ้าอาการหลาย ๆ อย่าง จะส่งผลทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง

 

รู้จักภาวะ PCOS กับการตั้งครรภ์

ภาวะ PCOS ทำให้เราหาวันไข่ตกได้ยากและกำหนดไม่ได้ว่าควรจะมีเพศสัมพันธ์ในวันไหนจนทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ยิ่งน้อยลง

•  กลุ่ม PCOS ที่มีประจำเดือนมาตรงทุกรอบ การนับวันไข่ตกโดยการอัลตราซาวด์ จะมีความแม่นยำกว่าการนับไข่ตกโดยการนับวัน และอาจจะใช้การฉีดเชื้อ (IUI) เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

•  กลุ่ม PCOS ที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ คนกลุ่มนี้มักมีฮอร์โมนเพศชายสูง และ/หรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน โดยการรักษาจะทำการกระตุ้นไข่ให้มีไข่ตก และนับวันไข่ตก โดยการกระตุ้นไข่อาจจะใช้ยากิน หรือยาฉีดร่วมด้วย เพื่อการตอบสนองของไข่ แต่การกระตุ้นไข่ร่วมกับการฉีดเชื้อ (IUI) โอกาสความสำเร็จอาจจะสูงขึ้นได้ในกลุ่มนี้ แต่การกระตุ้นไข่ เราต้องการไข่โตเพียง 1-3 ใบ การกระตุ้นไข่โตจำนวนเยอะเกินไปจะทำให้อัตราการตั้งครรภ์ลดลง และโอกาสแท้งสูงขึ้น

 

คุณผู้หญิงที่กำลังประสบปัญหา PCOS อย่าชะล่าใจเนื่องจากอาจเป็นภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังและมีบุตรยาก หากไม่รีบรักษา แม้ตั้งครรภ์สำเร็จ โอกาสแท้งในช่วง 3 เดือนแรกก็สูงเช่นกัน ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายและเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดกันดีกว่า


บทความโดย

พญ.สิริสุข อุ่ยตระกูล

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');