fbpx

ท้องได้ไหม… หากมีพังผืดในโพรงมดลูก?

ท้องได้ไหม… หากมีพังผืดในโพรงมดลูก?

พังผืดในโพรงมดลูกมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ตั้งแต่เป็นพังผืดบางๆ (filmy adhesions) ไปจนถึงมีพังผืดหนา (dense adhesions) ปิดทั้งโพรงมดลูก (complete uterine cavity occlusion) พังผืดในโพรงมดลูกทำให้เกิดปัญหา ได้แก่ ภาวะมีบุตรยาก (infertility) การแท้งซ้ำ (recurrent miscarriage) ระดูปริมาณน้อยกว่าปกติ (hypomenorrhea) หรือ ขาดระดู (amenorrhea)

 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

พังผืดในโพรงมดลูกมีสาเหตุจากการทำลายของเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial damage) ทำให้มีการติดกันของผนังโพรงมดลูก ซึ่งมักจะเกิดในคนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่

1. การทำหัตถการในโพรงมดลูก (intrauterine procedures) เช่น การขูดมดลูก (uterine curettage) การผ่าตัดส่องกล้องเอาเนื้องอกในโพรงมดลูกออก (hysteroscopic myomectomy) การผ่าตัดส่องกล้องเอาแผ่นกั้นในโพรงมดลูกออก (hysteroscopic resection of uterine septum)

2. การผ่าตัดเนื้องอกมดลูกทางหน้าท้อง (abdominal myomectomy)

3.  การแท้งค้าง (missed abortion) การแท้งไม่ครบ (incomplete abortion) เศษรกค้าง (retained placenta)

4. การอักเสบหรือการติดเชื้อที่เยื่อบุโพรงมดลูก (endometritis)

 

การตรวจวินิจฉัย

1. โดยการซักประวัติว่ามีปัญหาหรือปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวไว้หรือไม่

2. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasonography) พบเยื่อบุโพรงมดลูกบาง (thin ehdometrium) ในช่วงที่มีการตกไข่ (ovulation)

3. การฉีดสารทึบรังสีเอ็กซเรย์ดูโพรงมดลูก (hysterosalpingography) พบรูปร่างในโพรงมดลูกผิดปกติ

4. การส่องกล้องดูโพรงมดลูก (hysteroscopy) ซึ่งถือเป็นการตรวจวินิจฉัยมาตรฐาน (gold standard) สามารถมองเห็นพังผืดในโพรงมดลูก

 

การรักษาพังผืดในโพรงมดลูก

การผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อเลาะพังผืดออก (hysteroscopic lysis of adhesions) เป็นการรักษามาตรฐานสำหรับพังผืดในโพรงมดลูก จุดมุ่งหมายของการผ่าตัดคือพยายามทำให้โพรงมดลูกมีขนาดและรูปร่างปกติ ป้องกันการกลับมาเกิดพังผืดซ้ำหลังการรักษา รวมถึงการทำงานของเยื่อบุโพรงมดลูก ภาวะการเจริญพันธุ์ทำให้กลับมาตั้งครรภ์ได้หลังการผ่าตัดการใส่สายที่มี balloon (foley balloon catheter) คาไว้ในโพรงมดลูกเพื่อถ่างขยายโพรงมดลูกป้องกันไม่ให้ผนังโพรงมดลูกมาติดกัน ไม่ให้เกิดพังผืดซ้ำ ร่วมกับการใช้ฮอร์โมน estrogen เพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว กระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมและมีการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกที่เสียหายขึ้นใหม่ในรายที่มีพังผืดรุนแรงอาจทำการส่องกล้องโพรงมดลูก (hysteroscopy) ซ้ำภายหลังจากการผ่าตัดครั้งแรกเพื่อประเมินการเกิดซ้ำและเอาพังผืดที่เกิดขึ้นใหม่ออก

 

ผลการรักษา

ผลการตั้งครรภ์ค่อนข้างแตกต่างกันตามความรุนแรงของพังผืดก่อนผ่าตัด การตั้งครรภ์ในรายที่เคยมีพังผืดปานกลางหรือรุนแรงจัดว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ เช่น ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (intrauterine growth restriction) การคลอดก่อนกำหนด (preterm delivery) การฝังตัวของรกผิดปกติ (abnormal adherent placenta) และมดลูกแตก (uterine rupture)

 

สรุป

ภาวะมีบุตรยากในคนไข้อาจเป็นผลมาจากการมีพังผืดในโพรงมดลูก ซึ่งสามารถตรวจคัดกรองได้ด้วยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasonography) การฉีดสารทึบรังสีเอ็กซเรย์ดูโพรงมดลูก (hysterosalpingography) และให้การวินิจฉัยและรักษาด้วยการส่องกล้องโพรงมดลูก (hysteroscopy) หลังการผ่าตัดถ้าคนไข้ตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลแบบครรภ์ความเสี่ยงสูง และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้น


บทความโดย
นพ.เกรียงชัย สัจจเจริญพงษ์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
โรงพยาบาลเจตนิน

วารสารวิชาการเจตนิน Vol.10 No.2

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');