fbpx

คำถามที่มักถามบ่อยเกี่ยวกับการมีบุตร

คำถามที่มักถามบ่อยเกี่ยวกับการมีบุตร

การเตรียมตัวก่อนทำเด็กหลอดแก้ว

การเตรียมตัวที่ดีจะทำให้โอกาสของการทำเด็กหลอดแก้วสำเร็จมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรจะเตรียมตัวในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

การตรวจสุขภาพเบื้องต้น

เพื่อประเมินความพร้อมของคุณพ่อคุณแม่ก่อนการมีบุตรเป็นสิ่งสำคัญ เป็นการป้องกันโรคที่สามารถติดต่อกันได้จากคู่สมรส และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ลูก ซึ่งได้แก่
– การตรวจหาเชื้อไวรัส HIV
– การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B), การตรวจหาเชื้อไวรัสอักเสบซี (Hepatitis C)
– การตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน (Rubella) ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน ให้ฉีดวัคซีนก่อนเริ่มการรักษาอย่างน้อย 1 เดือน
– การตรวจธาลัสซีเมีย เพื่อประเมินว่าเป็นโรคหรือเป็นพาหะธาลัสซีเมียหรือไม่

การดูแลรักษาสุขภาพ

ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้ไม่มีน้ำหนักที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ งดดื่มแอลกอฮอล์ หยุดสูบบุหรี่ หรือการเริ่มทานโฟลิคเป็นประจำ

 

ข้อดี ของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน

ตัวอ่อนเกิดจากการนำไข่ที่มีโครโมโซม 23 แท่ง รวมกับสเปิร์มที่มีโครโมโซม 23 แท่ง จนได้ตัวอ่อนที่มีโครโมโซม 46 แท่ง ซึ่งตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติถ้าเอาไปใส่ในท้องแม่ก็จะไม่ฝังตัว หรือถ้าฝังตัวได้จะเกิดการแท้งไปในที่สุด การตรวจโครโมโซมจึงมีประโยชน์คือ

เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ แพทย์สามารถทราบว่าตัวอ่อนตัวไหนมีจำนวนโครโมโซมที่ถูกต้องและปกติ ทำให้เลือกตัวอ่อนที่ปกติกลับไปฝังได้

ช่วยลดโอกาสของการแท้งบุตร ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมที่ผิดปกติ เป็นหนึ่งในปัจจัยของการแท้งบุตร

ช่วยลดระยะเวลาในการทำให้เกิดการตั้งครรภ์ (Time to pregnancy) เพราะตัวอ่อนที่ดีจะมีโอกาสฝังตัวสูงและมีโอกาสแท้งต่ำ

ลดโอกาสการเกิดความผิดปกติของเด็กที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆเช่น โรคดาวน์ซินโดรม

 

ใครควรจะตรวจคัดกรอง โครโมโซมตัวอ่อน (PGT-A) ?

ปัจจุบันการทำ IVF/ ICSI เราสามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนทำการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูกหรือที่เรียกว่า ‘PGT- A’ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ลดการเกิดการแท้งบุตร และลดโอกาสการเกิดความผิดปกติในเด็กที่เกิดจากการมีโครโมโซมผิดปกติ การตรวจคัดกรองจะแนะนำให้ทำในคู่สมรสที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความจำเป็นในการรักษาบางอย่าง ซึ่งได้แก่

คู่สมรสฝ่ายหญิงมีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีโอกาสที่จะมีการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง กับการที่มีลูกที่มีโครโมโซมผิดปกติ

คู่สมรสที่มีการตั้งครรภ์ได้เองโดยธรรมชาติ แต่ประสบปัญหาเรื่องภาวะของการแท้งซ้ำ โดยมีการแท้งตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ในช่วงอายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

คู่สมรสที่ได้รับการรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยการย้ายตัวอ่อนอย่างน้อย 2 ครั้งและไม่เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น

คู่สมรสที่มีการแท้ง และได้รับการตรวจโครโมโซม หรือพันธุกรรมในตัวเด็กที่มีการแท้งแล้วพบว่ามีโครโมโซมผิดปกติ

กรณีที่ตรวจพบว่าสามีหรือภรรยา มีโครโมโซมที่ผิดปกติ

กรณีที่ตรวจพบว่ามีโรค หรือความผิดปกติ ที่เป็นลักษณะของโรคทางพันธุกรรมภายในครอบครัว


บทความโดย
พ.ต.ต. แพทย์หญิง เทพจงจิต อาวเจนพงษ์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
โรงพยาบาลเจตนิน

วารสารวิชาการเจตนิน  Vol.12 No.1

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');