fbpx

คำถามที่พบบ่อยเรื่องการมีลูกยาก ตอนที่ 4

คำถามที่พบบ่อยเรื่องการมีลูกยาก ตอนที่ 4

ถาม : ช่วงมีการระบาดโควิด-19 หญิงตั้งครรภ์ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างคะ

ตอบ : จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดการป่วยจากการติดเชื้อ COVID-19 ในหญิงตั้งครรภ์ไม่ได้แตกต่างจากคนที่ไม่ตั้งครรภ์ และมีเพียง 1%ของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อที่จะมีอาการป่วยที่รุนแรง หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา หรือ CDC ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในด้านผลเสียต่อการตั้งครรภ์จากเชื้อ COVID-19 แต่มีรายงานการแท้งบุตรและทารกตายคลอดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อจากโคโรนาไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น SARS, MERS

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการติดเชื้อ จากมารดาสู่ทารกในครรภ์ของ COVID-19 นั้น เกิดได้หรือไม่ คำแนะนำในขณะนี้คือการป้องกันการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา ปาก เว้นระยะห่างกับบุคคลอื่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสพื้นผิวที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยและพบแพทย์เมื่อมีอาการที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ เช่น มีไข้ไอ หายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น

 

ถาม : ทำเด็กหลอดแก้วและใส่ตัวอ่อนกลับโพรงมดลูกมาหลายครั้งแต่ไม่ตั้งครรภ์ จะมีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้างเพื่อให้ตั้งครรภ์

ตอบ : ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการตั้งครรภ์ภายหลังการย้ายตัวอ่อนนั้นมีหลายอย่าง เช่น ปัจจัยในด้านคุณภาพและ/หรือการมีโครโมโซมผิดปกติของตัวอ่อน ความผิดปกติของมดลูกและฮอร์โมน ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น การมีโรค ประจำตัวเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น แพทย์จะต้องทำการทบทวนประวัติการรักษาเดิมของคู่สมรสแต่ละราย และทำการตรวจประเมินเพิ่มเติม เช่น การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง การส่องกล้องตรวจภายในโพรงมดลูก การตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ้มกัน อาจรวมถึง การตรวจโครโมโซมของคู่สมรสหากพบว่า ตัวอ่อนน่าจะมีโครโมโซมผิดปกติที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบิดาหรือมารดา เป็นต้น จากนั้นแพทย์จะนำผลการตรวจทั้งหมดมาใช้ในการวางแนวทางการรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น การผ่าตัด แก้ไขความผิดปกติของโพรงมดลูก การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน การให้ยาเพื่อรักษาความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อและภูมิคุ้มกัน เป็นต้น เพื่อให้มีโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สูงขึ้นในการรักษาครั้งถัดไป


บทความโดย
นพ.ปกป้อง ปานศรีแก้ว
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
โรงพยาบาลเจตนิน

วารสารวิชาการเจตนิน  Vol.11 No.2

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');