fbpx

วิธีลดการแตกหัก DNA ของอสุจิ

วิธีลดการแตกหัก DNA ของอสุจิ

 

ความสมบูรณ์ของ DNA อสุจิ (sperm DNA integrity) ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและเจริญเติบโตของตัวอ่อน ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นใน DNA ของอสุจิ (sperm DNA damage) จะส่งผลให้อัตราการปฏิสนธิลดลง, อัตราการฝังตัวของตัวอ่อนลดลง และอัตราการแท้งที่สูงขึ้น

 

สาเหตุที่ทำให้เกิด Sperm DNA Fragmentation

1.การสร้างอสุจิ (Process of spermatogenesis): ในระหว่างการสร้างอสุจิจะมีการ Apoptosis เกิดขึ้นเพื่อป้องกันการสร้างอสุจิที่มากเกินไป (Over proliferation) และกระบวนทำลายอสุจิที่ผิดปกติ อสุจิที่ผิดปกติจะถูกติดเครื่องหมายไว้ที่เซลล์เพื่อรอให้เม็ดเลือดขาวมาทำลายต่อไป ถ้ากระบวนการดังกล่าวถูกรบกวน อสุจิที่ผิดปกติจะสามารถหลุดรอดปนออกมาในน้ำอสุจิได้ นอกจากนี้กระบวนการสร้างสายพันธุกรรมที่ผิดปกติจะส่งผลถึงความแข็งแรงของตัวอสุจิจนเกิด DNA damage ได้

 

2.Post-Testicular Sperm DNA Fragmentation: มีผลการวิจัยรายงานว่าปริมาณของ DNA fragmentation ของอสุจิที่หลั่งออกมา (Ejaculated sperm) มีค่าสูงกว่าอสุจิที่ได้จากอัณฑะ (Testicular sperm) เพราะภายในถุงเก็บอสุจิ (Epididymis) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง thiol disulfide ส่งผลให้ Chromatin ไม่เสถียรและเกิด การแตกหักของ DNA ในที่สุด

 

3.Oxidative stress: เป็นภาวะที่มีสาร Reactive oxygen species (ROS) มากเกินไป จนทำให้เป็นอันตรายต่ออสุจิ อสุจิจะมีความไวต่อการเกิด Oxidative stress เพราะบริเวณเยื่อบุเซลล์ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) ที่ทำปฏิกิริยาได้ง่ายกับสาร ROS นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการทำงานจนเกิด DNA damage

 

4.Environmental Toxicants: มีรายงานว่า ผู้ที่ได้รับมลพิษภายในสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มที่ระดับของ DNA damage ที่สูงขึ้น

 

วิธีการลด Sperm DNA Fragmentation

1.Abstinence period: มีงานวิจัยเสนอว่า การงดหลั่ง 1 วันก่อนการเก็บน้ำอสุจิเพื่อทำการรักษา ช่วยลดการแตกหักของ DNA เนื่องจากอสุจิใช้เวลาอยู่ในถุงเก็บอสุจิ (Epididymis) น้อย อสุจิที่อยู่ในถุงเก็บอสุจิเป็นเวลานานจะนำไปสู่การเสื่อมสภาพของโปรตีนใน DNA จนนำไปสู่การแตกหักของ DNA ในที่สุด ทว่าน้ำอสุจิที่งดหลั่งเป็นเวลา 1 วันเทียบกับ 5 วันพบว่า จะมีปริมาณของอสุจิที่เจริญไม่เต็มที่ (Immature sperm) จำนวนมาก ซึ่งอสุจิเหล่านี้สามารถผลิตสาร ROS มาทำลาย DNA ของอสุจิที่เจริญเติบโตแล้ว (mature sperm)

 

2.Anti-oxidant: สาร Anti-oxidant จะป้องการ DNA จากการเกิด Oxidative stress ได้แก่ วิตามิน C วิตามิน E หรือสังกะสี (Zinc)

 

3.Technique: เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted reproductive technology: ART) ที่กระทำโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สามารถลดความเสี่ยงในการแตกหักของ DNA ได้แก่ Time: การปล่อยน้ำอสุจิทิ้งไว้เป็นเวลานานจะยิ่งทำให้เกิดการแตกหักของ DNA เพิ่มขึ้น ดังนั้นหลังจากที่หลั่งเสร็จควรเริ่มกระบวนการคัดแยกอสุจิทันที (Sperm preparation) Preparation: ปัจจุบันมีเทคนิคในการคัดแยกอสุจิหลายวิธี เช่น Swim up หรือ Density gradient เพื่อแยกอสุจิที่มีชีวิต ออกจากอสุจิที่ตายแล้ว ซึ่งเทคนิคดังกล่าวมีผลการวิจัยที่น่าเชื่อถือรองรับว่า สามารถลด Sperm DNA fragmentation ได้ Magnetic activated cell sorting (MACs): เทคโนโลยีที่ช่วยคัดแยก Apoptotic sperm ออกจากน้ำอสุจิ เนื่องจากอสุจิดังกล่าวเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ ที่ไม่ถูกกำจัดและหลุดรอดออกมา หลังจากทำ MACs พบว่าจำนวนอสุจิที่ DNA damage ลดลงและความสามารถในการเจาะไข่เพิ่มขึ้น (Oocyte penetration) Testicular sperm: ด้วยวิธีนี้จะทำให้ปริมาณ DNA fragmentation ของอสุจิมีค่าลดลง แต่วิธีการดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้กับเคสที่เกิดความผิดปกติภายใน chromatin หรือความผิดปกติในการสร้างอสุจิ นอกจากนั้นยังเป็นวิธีที่ invasive คือต้องผ่าตัดหรือใช้เข็มเพื่อดูดอสุจิจากอัณฑะโดยตรงเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรที่สมบูรณ์และแข็งแรง หลังตรวจพบว่า Sperm DNA fragmentation มีค่าสูงควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุ และวิธีการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

 

 

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');