fbpx

การรักษาภาวะมีบุตรยากในยุค Next Normal ให้ปลอดภัย

การรักษาภาวะมีบุตรยากในยุค Next Normal ให้ปลอดภัย


การรักษาภาวะมีบุตรยากในยุค Next Normal ให้ปลอดภัย

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทุกคนต้องเผชิญในขณะนี้ ล้วนส่งผลต่อการรักษาภาวะมีบุตรยาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยากระตุ้นไข่ การฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก และการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น การทําเด็กหลอดแก้ว (IVF) การทํา ICSI และการตรวจโครโมโซม ตัวอ่อน (PGT)

ดังนั้นการวางแผนตั้งครรภ์ในช่วงสถานการณ์แบบนี้อาจจะทำให้คุณและคนที่คุณรัก เกิดความกังวลใจเป็นอย่างมาก ลองมาดูว่ามีวิธีใดที่จะช่วยให้การวางแผนการตั้งครรภ์ในสถานการณ์โควิด-19 ปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดี

1.ถ้าได้รับเชื้อ Covid-19 ระหว่าง ตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่?

Covid-19 เป็นเชื้อไวรัสตัวใหม่ที่เริ่มมีการระบาดใน 2 ปีที่ผ่านมา และยังไม่มีใครทราบว่าจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ในระยะยาวหรือไม่ แต่จากข้อมูลปัจจุบันกล่าวว่าไวรัส Covid-19 ไม่มีผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ และเชื้อไวรัสไม่สามารถผ่านจากรกเข้าไปติดทารกได้ แต่ภูมิต้านทานที่ร่างกายของแม่สร้างขึ้นมาจะส่งผ่านรกเข้าไปได้ ซึ่งจะช่วยให้ป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 ได้ แต่ยังไม่ทราบว่า ภูมิต้านทานจะคงอยู่ได้นานแค่ไหน

2.ควรจะเตรียมตัวอย่างไร ก่อนเริ่มการรักษาภาวะมีบุตรยาก?

ผู้รับบริการควรจะเตรียมตัวทั้งร่างกายและจิตใจก่อนเริ่มการรักษาภาวะมีบุตรยาก เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมากขึ้น เลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน C และวิตามิน D ดื่มนํ้าให้เพียงพออย่างน้อย วันละ 2 ลิตร และนอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง หมั่นล้างมือบ่อย ๆ และรักษาระยะห่างจากคนทั่วไป 1.5 – 2 เมตร เมื่อออกไปนอกบ้าน

3.ระหว่างการรักษาภาวะมีบุตรยาก ควรจะฉีดวัคซีนในช่วงไหน ?

ถ้าเป็นไปได้คนไข้ควรได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็มก่อนเริ่มการรักษาภาวะมีบุตรยาก และหลังจากได้รับวัคซีนสามารถเริ่มการรักษาได้เลย ไม่จําเป็นต้องทิ้งระยะห่างจากการฉีดวัคซีน ยกเว้นคนไข้มีภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีด เช่น ไข้สูง คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อย ตามตัว เป็นต้น

4.การรักษามีบตุรยากจะแตกต่างจากช่วง ไม่มีการระบาด Covid-19 หรือไม่?

การรักษาภาวะมีบุตรยากไม่แตกต่างจากช่วงไม่มีการระบาด Covid-19 เพียงแต่ทางโรงพยาบาลจะเพิ่มการรักษาความสะอาด และ มีมาตรการการป้องกันการระบาดของ Covid-19 เพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการและบุคลากรทางการแพทย์ขั้นสูงสุด ทางโรงพยาบาลยังคงมีการให้คําปรึกษาและคําแนะนําสําหรับผู้รับบริการเป็นระยะ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดและปลอดภัยมากที่สุด

5.ผู้รับบริการสามารถเข้าไปรับบริการให้คําปรึกษาที่โรงพยาบาล ได้เหมือนปกติหรือไม่?

ทางโรงพยาบาลยังให้บริการ ให้คําปรึกษาและให้การรักษาได้เหมือนปกติภายใต้การป้องกันการระบาดของเชื้อ Covid-19 อย่างเคร่งครัด ถ้าผู้รับบริการไม่สะดวกที่จะเดินทางเข้าไปที่ รพ. ก็สามารถรับคำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์, E-mail หรือทาง Line เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของเชื้อ Covid-19 ได้อีกด้วย

6.ถ้าเกิดสถานการณ์ National lockdown ขึ้นมาอีก การรักษาจะดําเนินการต่อไปหรือไม่?

ถึงแม้ว่าอาจมีการ lockdown ในกรุงเทพเกิดขึ้นอีก แต่ทางโรงยาบาลเจตนินก็ยังเปิดให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามปกติ และคนไข้ก็ยังสามารถเดินทางมาพบแพทย์ได้ตามปกติโดยไม่มี ผลกระทบใด ๆ ต่อแผนการรักษา

ทั้งนี้ถ้าหากผู้เข้ารับการได้รับเชื้อระหว่างการกระตุ้นไข่ และก่อนการ เก็บไข่ แพทย์แนะนําให้หยุดการรักษาชั่วคราว เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการรักษา Covid-19 อย่างเต็มที่เสียก่อน หลังจากตรวจไม่พบเชื้อ Covid-19 แล้ว 28 วัน ถึงจะกลับมาเริ่มรักษาใหม่ได้ สำหรับใครที่กังวลใจ การติดเชื้อ Covid – 19 ไม่มีผลต่อการรักษา หรือคุณภาพของไข่ อสุจิ และตัวอ่อนในช่วงที่มีการกระตุ้นไข่ และย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก

FREE CONSULTATION

window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-166232672-1'); !function(f,b,e,v,n,t,s) {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod? n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)}; if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0'; n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0; t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0]; s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script', 'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js'); fbq('init', '870245816822270'); fbq('track', 'PageView');