fbpx

ลูกไม่เป็นโรคด้วย PGT-M เทคโนโลยีช่วยหยุดโรคไว้ที่ รุ่นพ่อ-แม่

ลูกไม่เป็นโรคด้วย PGT-M เทคโนโลยีช่วยหยุดโรคไว้ที่ รุ่นพ่อ-แม่

PGT-M

โรคพันธุกรรม คือโรคที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกด้วยสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของยีน/ตัวควบคุมยีน ในปัจจุบันด้วยวิทยาศาสตร์ที่ก้าวไกลทำให้สามารถตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพันธุกรรมต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคู่สมรสที่ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหรือเป็นพาหะของโรคพันธุกรรม สามารถวางแผนมีบุตรโดยหลีกเลี่ยงโรคพันธุกรรมนั้น ๆ ไม่ให้ถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ด้วยการทำ Preimplantation Genetic Testing for Monogenic disorder (PGT-M) ซึ่งต้องทำควบคู่กับการทำ IVF (in vitro fertilization)

PGT-M เป็นการตรวจวินิจฉัย โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติจากยีนตัวเดียว (Single genedisorder) ของตัวอ่อน เพื่อป้องกันโรคและลดความเสี่ยงในการให้กำเนิดบุตรที่มีความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD เป็นต้น

NGS-based SNP genotyping เป็นการตรวจวิเคราะห์รูปแบบของสารพันธุกรรม (genotype) จาก SNPs (single nucleotide polymorphisms) โดยจะเป็นการตรวจ SNPs ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ ๆ กับ mutation (pathogenic variants) ซึ่งสามารถใช้ข้อมูล SNPs นั้นในการบ่งชี้ว่าชิ้นส่วน ไหนของโครโมโซม (haplotype) มีความเกี่ยวข้อง กับการเกิดโรค โดยเทียบ haplotype กับตัวอย่างอ้างอิง โดยจะมีการทำ SNPs genotyping ประมาณ200 ตำแหน่ง (loci) ที่ล้อมรอบตำแหน่งของ pathogenicvariant โดยเป็นการวิเคราะห์อ่านลำดับเบส(sequencing) ซ้ำ ≥ 100 ครั้ง (≥100X) ทำให้สามารถหาความสัมพันธ์และสามารถจะวิเคราะห์รูปแบบการถ่ายทอด haplotype ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคที่ได้จากการเปรียบเทียบชุดข้อมูล SNPs กับตัวอย่างอ้างอิง สำหรับเทคนิคนี้ จำเป็นต้องใช้ตัวอย่างอ้างอิงที่ทราบสถานะของโรค (carrier status ไม่ว่าจะเป็นพาหะ หรือเป็นโรคแล้วก็ตาม) ได้แก่

1) เลือดจากคู่สมรสที่ต้องการทำ PGT-M

2) เลือดจากคนในครอบครัว เช่น บุตรที่เป็นโรค, บุตรที่ปกติ หรือหากไม่มีบุตร สามารถใช้เลือดจากปู่ย่า ตายายได้เช่นกัน เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูลเพื่อให้ทราบถึง haplotype ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค

นอกจากนี้เพื่อ เพิ่มความแม่นยำในการตรวจวิเคราะห์ ยังมีการทำ direct mutation test เพื่อตรวจยืนยันโรค หรือตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่ต้องการทราบอีกด้วย

ในการตรวจวิเคราะห์ PGT-M ตัวอ่อนทุกตัวจะถูกตรวจจำนวนโครโมโซมด้วย PGT-A (Preimplantation GeneticTesting for Aneuploidy) เพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์ของโครโมโซมก่อนแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการตรวจ PGT-M ต่อไป

ดังนั้นการตรวจ PGT-M ก่อนใส่กลับตัวอ่อน จึงมีประโยชน์อย่างมากในคู่สมรสที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคทางพันธุกรรม ซึ่งมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกและเพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในตั้งครรภ์ และลดความเสี่ยงในการส่งต่อความยีนที่ผิดปกติไปยังลูก

FREE CONSULTATION