fbpx

การคัดเลือกอสุจิ สำหรับใช้ในเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

การคัดเลือกอสุจิ สำหรับใช้ในเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

การคัดเลือกอสุจิสำหรับใช้ในเทคโนโลยีช่วย การเจริญพันธุ์มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกอสุจิที่มี คุณภาพดีออกจากน้ำอสุจิ ในน้ำอสุจิไม่ได้มี สารอาหารเป็นส่วนประกอบเท่านั้น ยังมีตัวอสุจิที่คุณภาพ ไม่ดีอสุจิที่ตายแล้ว เม็ดเลือดขาว และเศษเซลล์อื่นๆ ปะปน อยู่จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีสารอนุมูลอิสระ (Reactive oxygen species : ROS) และ Prostaglandins ที่สามารถ พบได้ สารอนุมูลอิสระที่มากเกินไปก่อให้เกิดความเสียหาย ในระดับดีเอ็นเอของอสุจิโดยยับยั้งกระบวนการ Capacitation ส่งผลให้ตัวอสุจิไม่สมบูรณ์เสียความสามารถในการปฏิสนธิไป สำหรับสาร Prostaglandins เป็นตัวกระตุ้นกล้ามเนื้อ ในมดลูกให้หดตัวในเพศหญิง หากมีมากเกินไปจะทำให้ กล้ามเนื้อมดลูกขาดเลือด เกิดอาการปวดรุนแรงตามมา ดังนั้น การคัดเลือกอสุจิจะทำให้ได้อสุจิที่มีคุณภาพดี อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พร้อมที่จะปฏิสนธิ กับไข่ต่อไป ปัจจุบันมีการคัดเลือกสุจิหลายวิธีขึ้นอยู่กับคุณภาพและ ปริมาณของอสุจิวิธีที่นิยมมีดังนี้

1. Swim up เป็นวิธีการคัดเลือกอสุจิตัวที่แข็งแรง โดยอาศัยความสามารถในการเคลื่อนที่ ทำให้แยกตัวอสุจิ ที่แข็งแรงออกจากส่วนอื่นๆ การเตรียมอสุจิด้วยวิธีนี้ทำให้ได้ อสุจิที่มีการเคลื่อนที่ดีพบเซลล์แปลกปลอมอื่นๆ ได้น้อยมาก มักจะใช้วิธีนี้ในคนไข้ที่มีอสุจิเคลื่อนที่จำนวนมาก

2.Gradient separation เป็นวิธีการคัดเลือกอสุจิโดยนำไป ปั่นผ่านสารละลายที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน อสุจิที่มี ชีวิตจะมีความหนาแน่นของเซลล์สูง สามารถตกตะกอน ผ่านชั้นของสารละลายไปได้ อสุจิที่ตายแล้ว เม็ดเลือดขาว เศษเซลล์อื่นๆ มีความหนาแน่นของเซลล์ต่ำทำให้ไม่สามารถ ผ่านชั้นของสารละลายได้

3. Simple washing เป็นการปั่นล้างอสุจิในน้ำยาด้วย แรงเหวี่ยงต่ำในเวลาสั้น วิธีนี้ไม่ได้เป็นการคัดเลือกอสุจิตัวที่ แข็งแรง มักใช้ในกรณีที่คนไข้มีอสุจิจำนวนน้อยมากๆ เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีวิธีคัดเลือกอสุจิด้วยเทคนิคใหม่ชื่อว่า Magnetic activated cell sorting (MACs) เป็นการคัดแยก อสุจิที่มีการตายของเซลล์ (Apoptosis) ออกจากอสุจิปกติ โดยผ่านคอลัมน์แถบแม่เหล็ก วิธีนี้ทำให้ได้อสุจิที่มีเยื่อหุ้ม เซลล์สมบูรณ์ การทำงานของไมโทคอนเดรียปกติ ไม่มี การตายของเซลล์ พบการแตกหักของดีเอ็นเอ (DNA fragmentation) ลดน้อยลง เมื่อนำอสุจิที่ได้จากการคัดเลือก โดย MACS ไปผสมกับไข่พบว่า Fertilization rate และ Blast rate เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับการคัดเลือกอสุจิด้วย วิธีอื่น ทำให้เพิ่มโอกาสสำเร็จในการรักษามีบุตรยาก วิธีนี้ แนะนำในคนไข้ที่มีการแตกหักของดีเอ็นเอมาก มีค่า DFI (DNA fragmentation index) > 25% สามารถตรวจได้ด้วย Sperm DNA fragmentation test เนื่องจากกระบวนการ apoptosis มีความเกี่ยวข้องกับการแตกหักของดีเอ็นเอ ของอสุจิ ดังนั้น การเลือกวิธีคัดแยกอสุจิจึงมีความสำคัญ ในขั้นตอนการรักษา เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จในการรักษาภาวะ มีบุตรยากต่อไป
FREE CONSULTATION